►Case Study 

• แก้ปัญหา Mixed Hyperopic Astigmatism ด้วยเลนส์โปรเกรสซิฟ

 

 

Mixed Hyperopic Astigmatism เป็นปัญหาสายตาที่มีทั้งภาวะสายตายาวและสายตาเอียงผสมกัน ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยในคนที่มีค่าสายตาประเภทนี้ คือ คนไข้จะรู้สึกว่ามองเห็นภาพไม่ชัดในทุกๆระยะ เนื่องจากแสงที่เข้าสู่ดวงตาไม่ได้โฟกัสรวมกันเป็นจุดเดียวที่บริเวณจอตา รู้สึกล้าตา จากการใช้สายตาในการเพ่งที่มากเกินไปโดยเฉพาะเวลามองใกล้ ( โดยปกติคนไข้ที่มีปัญหาสายตายาวและเอียงที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจะต้องมีการเพ่ง หรือ accommdation อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วเพื่อดึงแสงที่เข้าสู่ดวงตาให้กลับมาโฟกัสตรงบริเวณจอตาซึ่งจะทำให้มองเห็นภาพได้คมชัดมากขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนระยะในการมองให้ใกล้ดวงตามากขึ้น คนไข้จึงต้องใช้แรงในการเพ่งหรือปรับโฟกัสที่มากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เกิดอาการ ล้าตา ปวดตา ปวดศีรษะ หรือเรียกว่าอาการ Asthenopia เมื่อใช้งานในระยะใกล้เป็นเวลานานๆ )

และยังมีอาการอื่นๆที่ยังสามารถเกิดขึ้นได้อีก เช่น การมองเห็นเป็นเงาซ้อน เคืองตาเวลาใช้สายตามองใกล้นานๆเกิดจากน้ำตาอาจจะระเหยเร็วกว่าปกติได้ รู้สึกไวต่อแสงจ้า ไม่สบายตา และต้องใช้เวลาในการปรับโฟกัสภาพให้คมชัด

หากท่านใดสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของสายตาเอียงแต่ละประเภท สามารถกดเข้าไปอ่านใน link ที่แนบไว้ให้ได้ค่ะ http://Mixed Hyperopic Astigmatism

 

ในวันนี้ขิงเลยขออนุญาติหยิบตัวอย่างรายละเอียดเคสของคนไข้ท่านหนึ่ง เพื่อใช้เป็น Case Study ให้กับทุกๆท่านที่สนใจ ได้ศึกษาถึงอาการ การวินิจฉัย และการแก้ปัญหาในคนที่มีค่าสายตาประเภทนี้  ตามเคสด้านล่างที่ขิงกำลังจะเขียนต่อไปนี้

 

คนไข้หญิง อายุ 52 ปี

 

จากการซักประวัติพบว่า

คนไข้มีอากาปวดตา เคืองตา เคยไปพบจักษุแพทย์ พบว่ามีก้อนไขมันบริเวณต่อมน้ำตาและไรบริเวณขนตาแนะนำให้ประคบอุ่นและนวดบริเวณดวงตา และมีนัดติดตามผลทุกเดือน

ตอนนี้มีอาการปวดหัวมาประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ปวดตลอดเวลา จึงมีคนแนะนำให้มาตรวจสายตาดูว่าอาการที่เป็นเกิดจากปัญหาสายตาหรือไม่

ปกติจะใส่แว่นเวลาออกไปทำกิจกรรมข้างนอกไม่ได้ใส่ตลอดเวลา

รู้สึกว่ามองไกลไม่ค่อยชัดมาประมาณ 2 ปี ต้องหรี่ตาและขับรถกลางคืนแสงไฟจะแตกออกเป็นแฉกๆ และรู้สึกว่ากะระยะไม่ค่อยถูก

เวลามองใกล้จะมองเห็นตัวหนังสือไม่ค่อยชัด

ใช้สายตานานๆจะมีอาการปวดบริเวณเบ้าตาและขมับ

 

ใส่แว่นครั้งแรกตอนอายุประมาณ 47-48 ปี เพราะรู้สึกว่าอ่านหนังสือไม่ค่อยชัด ตอนนี้แว่นที่ใช้หายไปประมาณ 1 เดือนกว่าๆ

ใช้โทรศัพท์มือถือวันละประมาณ 3-4 ชั่วโมง ใช้แบบต่อเนื่องประมาณ 1 ชั่วโมง

 

ปัญหาการมองเห็นอื่นๆไม่มี

สุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว

 

VA ตาเปล่า ( ความสามารถในการมองเห็นด้วยตาเปล่า คนปกติอยู่ที่ 20/20 )

OD (ตาขวา) : 20/70

OS (ตาซ้าย) : 20/40+2

OU (สองตา) : 20/30-1

 

• Cover test ( ตรวจดูความผิดปกติตาเขตาเหล่ซ่อนเร้น ) : Orthophoria ตาปกติไม่มีปัญหากล้ามเนื้อตา

• ขั้นตอนการตรวจหาค่าสายตา

Retinoscope ( หาค่าสายตาโดยดู reflex ที่สะท้อนออกมาจากดวงตาคนไข้)

OD : +0.75-2.25*90 VA 20/20

OS : +0.50-1.50*90 VA 20/20

Monocular Subjective ( หาค่าสายตาโดยการถามตอบจากคนไข้ทีละตา )

OD : +0.50-2.25*90 VA 20/15

OS : +0.25-1.50*85 VA 20/15

Best Visual Acuity ( หาค่าสายตาสุดท้าย และ Balance Accommodation ของทั้งสองตาโดยการถามตอบจากคนไข้ )

OD : +0.75-2.25*90 VA 20/15

OS : +0.50-1.50*85 VA 20/15

 

Confirm hand-held Refraction บน Trial frame ( รีเช็คค่าสายตาจากการดู Reflec ของแสงที่สะท้อนจากตาของคนไข้ และ รีเช็คค่าสายตาเอียงเมื่อเลนส์อยู่ในตำแหน่งที่คล้ายกับตำแหน่งใช้งานอยู่บนหน้าแว่นจริง )

OD : +0.50-2.25*85 VA 20/15

OS : +0.25-1.25*85 VA 20/15

จะเห็นว่ามีค่าสายตาเอียงและองศาของค่าสายตาเอียงที่เปลี่ยนไป เพราะเวลาเราหาองศาใน Phoropter จะอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งฉากกับแสงที่เข้ามา แต่เมื่อมาconfirm บน trial frame จะมีปัจจัยอื่นๆ เช่นมุมเทของหน้าแว่น มาเกี่ยวข้องด้วยทำให้ค่าองศาที่วัดได้มีการเปลี่ยนแปลงไป

 

• ขั้นตอนการตรวจการเพ่งของเลนส์ตา

NRA ( ความสามารถในการคลายการเพ่งของเลนส์ตา ) : +0.50

PRA ( ความสามารถในการเพ่งของเลนส์ตา ) : -1.25

BCC ( ค่า Addition ที่คนไข้ต้องการช่วยในการเพ่งให้เห็นชัดที่ระยะ 40 cm. ) : +2.25

 

 

วิเคราะห์ปัญหา

• ในระยะไกลคนไข้มีปัญหาสายตายาวและเอียงแบบ Mixed Hypetopic Astigmatism ในตาทั้งสองข้าง

ตาขวา : สายตายาว +0.50 Diopter สายตาเอียง -2.25 Diopter ที่องศา 85

ตาซ้าย : สายตายาว +0.25 Diopter สายตาเอียง -1.25 Diopter ที่องศา 85

• เมื่อดูผลจากค่า BCC = +2.25 ในระยะใกล้คนไข้มีปัญหาในการเพ่งที่ระยะ 40 ซม.ต้องการเลนส์บวกที่ช่วยในการเพ่ง 2.50 Diopter ซึ่งเป็นค่าปกติเมื่อเทียบกับอายุ มีค่า NRA หรือความสามารถที่คนไข้เพ่งได้เองแล้วคลายการเพ่งออกมา = +0.50 Diopter ซึ่งเป็นค่าปกติเมื่อเทียบกับอายุ และสามารถเพ่งได้อีก -1.25 Diopter เมื่อดูจากค่า PRA

 

 

#สรุปปัญหา

จากปัญหาของคนไข้เมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อย พบว่าอาการมองไกลไม่ชัดต้องหรี่ตา เห็นไฟรถแตกออกเป็นแฉกๆในตอนกลางคืน อาการปวดหัว ปวดเบ้าตาและบริเวณขมับ คาดว่าเกิดจากปัญหาสายตายาวที่มีอยู่เล็กน้อยรวมถึงปัญหาสายตาเอียงที่มีอยู่ค่อนข้างมาก จึงทำให้คนไข้ต้องใช้พลังงานในการเพ่งในทุกๆระยะมากกว่าคนปกติค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆตามที่เล่ามา และปัญหาการกะระยะที่ผิดพลาด คาดว่าเกิดจาก ปัญหาที่คนไข้มีค่าสายตาที่ต่างกันในตาทั้งสองข้างค่อนข้างมาก หากได้รับการแก้ไขค่าสายตาที่ไม่ถูกต้องหรือแก้ไขได้ไม่หมด จะส่งผลให้ระบบการทำงานร่วมกันของตาทั้งสองข้างหรือ Binocular vision ทำงานผิดปกติ ทำให้การกะระยะชัดลึก หรือ Stereopsis มีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไป (สามารถอ่านเรื่อง Stereopsis การมองเห็นภาพสามมิติ เพิ่มเติมได้ที่ลิ้ง http://voradaoptometry.com/knowleage/detail/49 )

 

 

วิธีแก้ไขปัญหา

• จ่ายแว่น Progressive lens แก้ไขค่าสายตาทุกระยะ ด้วย full correction เพื่อแก้ไขปัญหาสายตา และลดการกระตุ้น Accommodationหรือการเพ่งของคนไข้เพื่อทำให้ระบบการเพ่งของเลนส์ตากลับมาทำงานได้ปกติมากขึ้น

 

เนื่องจากค่าสายตาของคนไข้มีค่าสายตาเอียงที่ต่างกันค่อนข้างมาก รวมถึงปัญหาสายตายาวที่ต้องคำนึงถึงการเลือกโครงสร้างเลนส์ที่เหมาะสม 

โดยแนะนำเป็น Progressive Lenses B.I.G. NORM จาก Rodenstock โดยออกแบบโครงสร้างผ่านการสร้างแบบจำลองดวงตา Biometric ที่ใกล้เคียงกับดวงตามนุษย์ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงข้อมูลต่างๆและส่งต่อไปยังระบบอัลกอลิทึม หรือ AI โดยใช้ข้อมูลค่าสายตา ค่า Addition ระยะห่างจุดกึ่งกลางตาดำ รวมถึงตำแหน่งสูงต่ำตาดำของคนไข้มาใช้ในการคำนวณและออกแบบโครงสร้างเลนส์  และสามารถเลือกผิวโค้งเลนส์ได้อย่างอิสระโดยไม่กระทบกับโครงสร้างเลนส์ ทำให้มุมมองการมองผ่านเลนส์ของคนไข้จะมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น 

 

 

Traditional Progressive lens                                                              Rodenstock Progressive lens

 

• กล้ามเนื้อตาปกติไม่จำเป็นต้องแก้ไข

 

ค่าสายตาที่จ่ายแว่น

OD : +0.50-2.25*85

OS : +0.25-1.26*85

Addition : +2.25

 

และแจ้งให้คนไข้ทราบแล้วว่าในช่วงแรกที่ได้รับแว่นไป จะต้องใช้เวลาให้สมองได้เรียนรู้และปรับเปลี่ยนภาพที่เห็นใหม่ รวมถึงการทำงานของเลนส์แก้วตาที่แต่ก่อนเคยชินกับการเพ่งมาเป็นระยะเวลานาน จึงต้องใช้เวลาในการปรับตัวสักพัก หากสมองเรียนรู้ได้แล้วก็จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

หลังจากรับแว่นไปครบ 5 วัน จึงไลน์ไปติดตามผลกับคนไข้ เนื่องจากค่าสายตาที่คนไข้มี ทั้งปัญหา Hyperopia สายตายาวที่ระยะไกล รวมถึงสายตาเอียงในตาทั้งสองข้างที่ค่อนข้างมากและต่างกันมากพอสมควร มีโอกาสที่จะปรับตัวได้ค่อนข้างยาก แต่คนไข้แจ้งว่า สามารถใช้งานได้ปกติแล้ว ไม่ได้มีปัญหาใดๆ

 

 

แก้ไขปัญหาโดย

Rodenstock Progressive B.I.G NORM

Solitaire X - tra Clean

กรอบแว่นตา WIZ รุ่น Exclusive กรอบแว่นตา House Brand จากประเทศเกาหลี

 

   

   

 

 

ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น.

นัดหมายเพื่อเข้ารับบริการ 065-9499550

ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง

สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ

ร้านตั้งอยู่ที่

อาคารหมายเลข 89/45 ม.3​ ต.บางกรูด​ อ.บ้านโพธิ์​ จ.ฉะเชิงเทรา​

https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic

อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา

ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา

ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์

สามารถจอดรถบริเวณหน้าร้านได้เลยค่ะ