Case Study : Hyperopia ปัญหาสายตายาว ต้นเหตุความไม่สบายตาที่หาสาเหตุไม่ค่อยเจอ

 


Content นี้ตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อ ให้ทุกท่านลองเช็คการมองเห็นของตัวเอง ว่าปัจจุบันการมองเห็นที่ชัดเจนนั้น  ชัดเจนแบบสบายตา หรือมีบางปัญหาที่แอบเกิดขึ้นแต่ตรวจแล้วก็ดันไม่พบปัญหา

 

สายตายาว ( Hyperopia ) 

คือ ภาวะที่แสงจากระยะอนันต์กระทบกับวัตถุ สะท้อนเข้าสู่ดวงตา ผ่าน optical system ต่างๆแล้วไปตกที่บริเวณด้านหลังจอตา

 

อาการของ Hyperopia                                                                                                                                                                                                                                                   
สำหรับคนที่มีปัญหา Hyperopia ในปริมาณที่ค่อนข้างสูงมักจะมีอาการที่สังเกตุได้อย่างชัดเจน คือมองภาพไม่ชัดทั้งที่ระยะไกลและระยะใกล้  ส่วนในคนที่มี Hyperopia ในปริมาณที่น้อย บางคนอาจจะไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน  แต่มักจะเป็นอาการที่ค่อยๆแสดงออกมาให้เห็นที่ละน้อยๆ  เป็นเหมือนปัญหาที่ค่อยๆสะสมเรื้อรังมาเป็นเวลานาน

เพราะส่วนใหญ่คนที่เป็น Hyperopia ในปริมาณไม่มากอย่างเช่น +1.00 Diopter ก็ยังคงมีความสามารถในการมองเห็นจากการ Test ด้วย Snellen Chart ได้ถึง VA 20/20  ซึ่งเป็นความสามารถในการมองเห็นด้วยตาเปล่าของคนปกติ   เนื่องจากในวัยที่กล้ามเนื้อตาและเลนส์แก้วตายังไม่เสื่อมสภาพ มีความยืดหยุ่นได้ดีอยู่ จึงสามารถทำการ Accommodation เพื่อดึงภาพให้มาตกตรงบริเวณจอตาได้    ปัญหาจึงไม่ถูกแก้ไข เพราะส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์การตัดสินใจจ่ายแว่นจากการดู  VA หาก VA ดี ก็แปลว่าไม่ได้มีปัญหาอะไร แล้วจะใส่แว่นไปเพื่ออะไร

 

แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ มองเห็นได้ชัด แต่มีอาการไม่สบายตาตามมาทีหลังจากการที่ตาต้องทำการ Accommodation อยู่ตลอดเวลาทั้งที่ระยะไกลและระยะใกล้ ยิ่งถ้ามีสายตาเอียงร่วมด้วย ยิ่งไปกันใหญ่  อย่างเช่น  คนไข้จะรู้สึกว่าต้องใช้ระยะเวลาในการโฟกัสภาพสักพักหนึ่งภาพถึงจะคมชัด ต้องหรี่หรือหยีตาเพื่อปรับโฟกัสให้ภาพคมชัดขึ้น เกิดเป็นรอยตีนกาบริเวณหางตาตามมา 

อาการไม่สบายตาจะมีมากขึ้นเมื่อต้องใช้สายตาในการเพ่งมอง หรือ ทำงานที่ระยะใกล้เป็นเวลานานๆ มักจะมีอาการปวดตึงตา หรืออาจจะลามไปจนถึงทำให้เกิดอาการปวดหัวได้   และอาการจะแสดงให้เห็นมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อและเลนส์แก้วตาค่อยๆเสื่อมลงจน Accommodation ไม่ไหว อาการเหล่านี้ก็จะโผล่ออกมาให้เห็น ซึ่งอาการเรื้อรังเหล่านี้เป็นปัจเจกบุคคลหรือรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น พูดไปก็อาจไม่มีใครเชื่อ เพราะมันจะเกิดปัญหาได้ยังไงในเมื่อไปตรวจแล้ว Test ด้วย Snellen Chart มองเห็นได้ดีถึง 20/20


แล้วปัญหานี้ จะสามารถตรวจพบได้ยังไง ?

คำตอบก็คือ  ตรวจดู Reflex การสะท้อนกลับของแสงจากจอตา ด้วยการกวาด Retinoscope 

เมื่อแสงจาก Retinoscope ส่องเข้าดวงตา สะท้อนผ่านจอตาออกมา แสงที่สะท้อนออกมาจากจอตา จะสามารถบอกได้ว่า Movement ของ Reflex หรือการเคลื่อนไหวของแสงเป็นอย่างไร  มีปัญหาสายตาจริงหรือไม่มี  

Retinoscope จึงเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญในการค้นหาปัญหาที่ซ่อนอยู่  การดู Reflex ที่สะท้อนออกมา เป็นการตรวจแบบ Objective  ที่ไม่ต้องถามตอบกับคนไข้ Movement ของ Reflex  ไม่สามารถโกหกได้  ถึงคนไข้จะมองเห็น  VA 20/20 แล้วบอกว่าชัด แต่ Reflex ที่สะท้อนออกมายังไม่ Neutral ก็แสดงว่า ยังคงมีปัญหาที่ซ่อนอยู่

 


วันนี้เลยเอา Case Study ที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่มีอะไร  มาให้ทุกๆท่านได้ศึกษากัน เพื่อสังเกตุอาการของตัวเอง


Case Study  : 

 

คนไข้หญิง   อายุ  25  ปี  

จากการซักประวัติพบว่า  

เคยตรวจสายตาและตัดแว่น เมื่อ 4-5 ปีก่อน กับร้านที่มีทัศนมาตร ก่อนหน้าที่จะเข้ารับการตรวจเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วเคยตัดแว่นมาก่อน พอใช้ไปอาการที่เป็นอยู่ก็ไม่ได้ดีขึ้น  บอกคนอื่นก็หาว่าคิดไปเองแต่ส่วนตัวรู้สึกว่ามันไม่ได้มองเห็นได้แบบปกติ   

2-3 ปีแรกจะใส่แว่นตลอดเวลา  แต่ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใส่แล้ว  ใส่เฉพาะตอนเรียนหนังสือและทำงาน   เวลาใส่แว่นรู้สึกว่ามองใกล้จะสบายตามาก แต่ใส่มองไกลจะรู้สึกว่าตาเปล่าสบายตากว่า   มีอาการล้าตาเวลาไม่ได้ใส่แว่น  และมีปัญหาตาแห้ง เลยอยากมาเช็คดูว่าตัวเองมีปัญหาสายตาเพิ่มขึ้นรึป่าว
เพราะปัจจุบันใช้สายตาเยอะ แล้วรู้สึกว่ามองใกล้เบลอกว่ามองไกล

 

ใช้คอมพิวเตอร์วันละประมาณ 2-4 ชั่วโมงแบบต่อเนื่อง
ใช้โทรศัพท์มือถือ วันละประมาณ 8 ชั่วโมง ใช่แบบต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 3-4 ชั่วโมง 
ใข้สายตาในการอ่านหนังสือ 2-3 ชั่วโมง แบบต่อเนื่อง

สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว  ปัญหาอื่นๆไม่มี

 

ค่าสายตาแว่นเดิมจากการ์ดเลนส์
OD : +1.25-1.00*92
OS : +1.00-0.75*95

 

VA ตาเปล่า ( ความสามารถในการมองเห็นด้วยตาเปล่า คนปกติอยู่ที่ 20/20 )
OD (ตาขวา) : 20/60 ไม่ค่อยชัดแต่ยังเห็นเป็นตัวอักษร  เพ่งต่ออ่านได้จนถึง  20/25+2
OS (ตาซ้าย) : 20/20
OU (สองตา) : 20/20-2


Cover test ( ตรวจดูความผิดปกติตาเขตาเหล่ซ่อนเร้น ) : Orthophoria


Retinoscope   
OD : +1.00-0.50*90                         VA 20/20
OS : +0.75-0.50*90                         VA 20/20

Monocular Subjective
OD : +0.50-0.75*100                       VA 20/20
OS : +0.25-0.50*95                         VA 20/20

Best Visual Acuity
OD : +0.75-0.75*100                       VA 20/20
OS : +1.00-0.50*95                         VA 20/20

 

Phoria @ distant     Horizontal  :  1 Base Out
Vergence @distant     BI    x / 12 / 6
                                   BO 6 / 24 / 12

                                  Vertical  :  0
                                  Sup  3/0 R
                                  Inf    3/0 R

Phoria @near  ตรวจด้วย Phoropter ไม่ได้เนื่องจาก PD หรือระยะห่างจุดกึ่งกลางตาดำของคนไข้แคบ ทำให้ Phoropter หมุนไม่ได้  จึงเลือกใช้การตรวจด้วย Madox Rod แทน

 

Madox Rod @ near : 2 Base Out
Associate Phoria @distant : 0

    
BCC : 0
NRA : +1.00
PRA : -2.25


Confirm hand-held Refraction บน Trial frame 
OD : +0.75-0.75*90                       VA 20/20
OS : +1.00-0.50*95                       VA 20/20


จะเห็นว่ามีค่าสายตาเอียงที่เปลี่ยนไป เพราะเวลาเราหาองศาใน Phoropter จะอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งฉากกับแสงที่เข้ามา  แต่เมื่อมาconfirm บน trial frame จะมีปัจจัยอื่นๆ เช่นมุมเทของหน้าแว่น มาเกี่ยวข้องด้วยทำให้ค่าองศาที่วัดได้มีการเปลี่ยนแปลงไป

 

 

วิเคราะห์ปัญหา
 

•       ในระยะไกลคนไข้มีปัญหาสายตายาวและเอียงแบบ Compound Hyperopic Astigmatism ในตาทั้งสองข้าง
ตาขวา : สายตายาว +0.75 Diopter สายตาเอียง -0.75 Diopter ที่องศา 90
ตาซ้าย : สายตายาว +1.00 Diopter สายตาเอียง -0.50 Diopter ที่องศา 95

•       ปัญหากล้ามเนื้อตา มีปัญหา Esophoria ตาเหล่เข้าซ่อนเร้นทั้งที่ระยะไกลและระยะใกล้เล็กน้อย โดยมีปริมาณของแรงในการดึงตาออกหรือ Reserve ที่เพียงพอ และคาดว่าปัญหา Esophoria นี้อาจเกิดจากการเพ่งที่มากเกินไปจากปัญหา Hyperopia และ Astigmatism ส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อตามีความผิดปกติ

•       เมื่อดูผลจากค่า BCC ในระยะใกล้คนไข้ไม่มีปัญหาการเพ่งของเลนส์ตาที่ระยะ 40 ซม. ซึ่งเป็นค่าปกติเมื่อเทียบกับอายุ 
•       มีค่า NRA หรือความสามารถในการคลายการเพ่งของเลนส์ตาที่คนไข้เพ่งได้เอง +1.00 Diopter  ซึ่งน้อยกว่าปกติ คาดว่าสาเหตุเกิดจากการที่คนไข้มีการเพ่งเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่องทำให้การคลายตัวของเลนส์ตาทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
•       และสามารถเพ่งได้อีก -2.25 Diopter เมื่อดูจากค่า PRA

 

จากปัญหาที่คนไข้มีคือ รู้สึกว่ามองใกล้เบลอกว่ามองไกลเมื่อไม่ใส่แว่น   แต่ใส่แว่นแล้วรู้สึกมองใกล้สบายตากว่าเวลาที่ใส่มองไกล มาพูดถึงสาเหตุกันทีละปัญหา

 

ปัญหาแรก คือ รู้สึกมองใกล้เบลอกว่ามองไกล  ปัญหานี้เกิดจาก คนที่เป็น Hyperopia ในระยะไกลภาพจะโฟกัสตกไปที่ด้านหลังของจอตา แต่ด้วยอายุของคนไข้ยังน้อยกลไกลการทำงานของ Accommodation ยังทำงานได้ดีอยู่เลยรู้สึกว่าภาพยังคงมองเห็นได้ชัด   แต่พอเราเลื่อนมามองวัตถุในระยะที่ใกล้ขึ้น  จากเดิมที่ระยะไกลภาพตกด้านหลังจอตา เมื่อเลื่อนวัตถุใกล้เข้ามา ภาพก็จะโฟกัสที่ด้านหลังจอตาไกลมากกว่าเดิม ทำให้ต้องทำการเพ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก เพ่งตลอดเวลาเป็นเวลานานๆจึงทำให้กล้ามเนื้อต่างๆมันล้าจนเพ่งไม่ไหว ทำให้เกิดภาพระยะใกล้เบลอและมีอาการไม่สบายตาเกิดขึ้นมากกว่าที่ระยะไกล

 

ปัญหาที่สอง คือ ใส่แว่นแล้วรู้สึกมองใกล้สบายตากว่าเวลาที่ใส่มองไกล ก็เนื่องจากเลนส์ + จะเข้าไปช่วยเลื่อนตำแหน่งจุดโฟกัสของภาพที่ตกอยู่ด้านหลังจอตาให้เข้ามาใกล้กับจอตามากขึ้น ในการมองวัตถุระยะใกล้จุดโฟกัสภาพของคนที่เป็น Hyperope จะไปตกที่ด้านหลังจอตาในระยะที่ไกลกว่าการมองวัตถุที่ระยะไกล  ทำให้การใส่เลนส์บวกเพื่อแก้ไขปัญหาจะเห็นผลลัพธ์ที่ระยะใกล้ได้ง่ายกว่า เพราะการ Accommodation น้อยลงจากเดิม

 

 

สำหรับในระยะไกลเมื่อ Correct ค่าสายตาหมดแล้วภาพก็จะไปโฟกัสที่ตำแหน่งจอตาพอดี  แต่เนื่องจากคนที่มีปัญหา Hyperopia กับ Myopia เมื่อใส่แว่นในช่วงแรกจะมีความรู้สึกที่ต่างกัน  อย่างเช่น   สายตายาว +1.00 D กับ สายตาสั้น  -1.00 D เมื่อใส่แว่นคนที่มีปัญหาสายตาสั้นจะเห็นความคมชัดที่แตกต่างจากภาพที่เคยเห็นมากก่อนได้อย่างชัดเจน แต่ในคนที่มีสายตายาว  +1.00 D เมื่อใส่แว่นในช่วงแรก ภาพที่เห็นอาจเบลอ ไม่คมชัด และรู้สึกไม่สบายตา  พูดให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ ตาคนเรามันเคยเพ่งอยู่ทุกวัน  อยู่ๆมีอะไรสักอย่างไปช่วยเหลือบอกว่าไม่ต้องเพ่งละนะ  เดี๋ยวฉันช่วยเอง  อะไรสักอย่างที่ว่าก็คือ เลนส์ +  ที่ใส่เพื่อแก้ไข Hyperopia ในช่วงแรกๆที่ Accommodation ไม่ต้องทำงานแล้ว  มันก็ยังคงทำตัวไม่ถูก แรกๆฉันก็ยังอยากทำงานอยู่  ใส่แว่นช่วงแรกจึงอาจเกิดเป็นภาพเบลอ  และไม่สบายตา  แต่หลังจากใช้เวลาสักพัก ให้เลนส์ตาได้ปรับตัวเข้าที่แล้ว  ภาพก็จะกลับมาคมชัด  และสบายตาเหมือนเดิม 

 

เมื่อ Correct ปัญหาที่ระยะไกลเรียบร้อย   การทำงานของระบบกล้ามเนื้อตา และการทำงานร่วมกันของตาทั้งสองข้างกลับมาเป็นปกติ เวลาที่เราใช้สายตาในการมองระยะใกล้  ระบบการทำงานของ  Accommmodation ก็จะทำงานในปริมาณที่เป็นปกติของมัน  ไม่ต้องทำงานมากเกินความสามารถอีกต่อไป  ทำให้ในการมองที่ระยะใกล้จึงสบายตามากขึ้น


วิธีแก้ไขปัญหาใน Case นี้ก็แนะนำให้ใส่แว่นอันเก่า เนื่องจากค่าสายตาค่อนข้างต่างกันไม่มาก และแว่นยังใช้งานได้อยู่  แนะนำให้ใส่บ่อยๆทั้งระยะไกลและระยะใกล้ ใส่แบบต่อเนื่องเพื่อปรับระบบการทำงานของดวงตาให้กลับมาเป็นปกติ

คนไข้บอกว่าปกติเวลามองไกลก็รู้สึกว่ายังมองได้อยู่ เวลาใส่แว่นก็รู้สึกว่าภาพไม่ได้ชัดขึ้นก็เลยเลือกที่จะไม่ใส่ แต่หลังจากนี้จะพยายามกลับมาใส่แว่นอีกครั้งให้ชินและปรับตัวได้ 

 


วันนี้ก็ขอลาไปก่อน  หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านและผู้ที่สนใจ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านจนจบและเป็นกำลังใจให้ขิงเสมอมา 

Content By : Worada  Saraburin , O.D.

 

 

ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์

ท่านใดที่สนใจนัดหมายเข้ารับบริการ ติดต่อได้ที่เบอร์ 065-949-9550

ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ

 

 

ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข  89/45 ม.3​ ต.บางกรูด​ อ.บ้านโพธิ์​ จ.ฉะเชิงเทรา​  

https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic

อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์

 

Facebook Page : Vorada Optometry