โรคตาขี้เกียจ ที่ไม่ใช่ตาขี้เกียจ เมื่อแก้ไขได้ด้วยการใส่แว่น
ตาขี้เกียจ เหมือนจะเป็นปัญหาที่ดูวิเคราะห์ได้ง่าย เมื่อฟังจากคำนิยามที่ว่า เมื่อแก้ไขด้วยแว่นแล้วความสามารถในการมองเห็นยังคงน้อยกว่า 20/40 หรือ ความสามารถในการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างต่างกัน 2 บรรทัดเมื่อตรวจวัดจาก Snellen chart โดยการมองเห็นที่ลดลงต้องอยู่ในเงื่อนไขคือ*ต้องไม่มีโรคทางตาใดๆ* มาเกี่ยวข้อง ซึ่งเรื่องราวต่อไปนี้ จะพูดถึงกรณีที่คนไข้ไม่มีโรคทางตาใดๆมาเกี่ยวข้อง
จากคำนิยามข้างต้น เลยทำให้การวิเคราะห์ปัญหาตาขี้เกียจ ดูเป็นเรื่องที่ง่ายต่อการตัดสินใจบอกว่าคนคนนี้มีปัญหา ผู้ปกครองบางท่าน ตั้งใจพาลูกหลานไปตัดแว่น ร้านก็ให้ลองใส่เลนส์ทดลองลองไปเรื่อยๆ จนไม่รู้จะต้องหยิบเลนส์อันไหนมาเสียบแล้ว ความสามารถการมองเห็น หรือ VA ก็ไม่ได้ดีขึ้นเลย ก็เลยตัดสินใจบอกกับคนไข้ไปว่า มีปัญหาตาขี้เกียจ
ด้วยความไม่รู้ ทีนี้ทั้งผู้ปกครอง ทั้งตัวเด็กเองก็ตกใจ ตั้งใจจะมาตัดแว่น ดันมาเจอโรคอะไรก็ไม่รู้ไม่เคยได้ยิน บางร้านก็ดันอธิบายให้คนไข้กลัวไปอีก แค่ได้ยินว่าตัวเองเป็น ‘ โรค ‘ ก็ตกใจกันอยู่แล้ว ทีนี้ก็กลายเป็นปัญหาที่เข้าใจผิดๆมาตลอด ทั้งเด็กและผู้ปกครอง ว่าตาตัวเองผิดปกติมีปัญหาเยอะมาก กังวลกับเรื่องการมองเห็นเป็นพิเศษกว่าเรื่องอื่น แย่กว่านั้นคือ ต้องทนใช้แว่นตาอันนั้นต่อไป ทั้งที่แทบจะไม่ต่างกับตอนที่ไม่ได้ใส่แว่นเลยเพราะคิดว่า ตาเรามันมีปัญหา มันมองเห็นชัดได้แค่นี้แหละ
แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่า VA ที่มันไม่ดีขึ้น มันเกิดจากที่คนไข้เป็นตาขี้เกียจจริงๆ หรือ เพียงเพราะแก้ไขค่าสายตาให้คนไข้ผิดไป
จริงๆคีย์เวิร์ดของเรื่องนี้มันอยู่ที่ ' การใช้แว่นค่าสายตาที่ถูกต้อง จะทำให้ปัญหาการมองเห็นกลับมาเป็นปกติ โดยที่ตัวเองไม่ได้เป็นโรคตาขี้เกียจแบบที่เขาว่าก็ได้ '
วันนี้เลยยกเคสตัวอย่างมาให้อ่านกันเป็นอุทาหรณ์
ผู้ปกครองน้องคนหนึ่ง โทรมานัดตรวจสายตา บอกว่าน้องมีปัญหาสายตาค่อนข้างหนัก สายตาสองข้างไม่เท่ากัน เลยอยากให้ตรวจสายตาให้น้องแบบละเอียดดูให้หน่อย
วันที่ตรวจสายตาซักประวัติน้อง พบว่า
น้องอายุ 17 ปี
มีอาการมองไกลไม่ค่อยชัด พอใส่แว่นแล้วรู้สึกชัดขึ้นมาหน่อย
เมื่อ 3 ปีที่แล้วไปตรวจสายตาที่ร้านแว่น ร้านแว่นบอกว่าเป็นตาขี้เกียจ
มีอาการปวดตาระหว่างเรียน
ใส่แว่นครั้งแรกตอนอายุ 15 ปี แว่นตัวปัจจุบันมองไกลๆไม่ค่อยชัด ใส่แล้วมีปวดตาระหว่างเรียน
ในระหว่างเรียนจะมีอาการปวดหัว ปวดขมับ และบริเวณท้ายทอย
ใช้โทรศัพท์มือถือวันละประมาณ 6 ชั่วโมง ใช้แบบต่อเนื่องติดต่อกันประมาณ 5 ชั่วโมง
สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว
VA ตาเปล่า ( ความสามารถในการมองเห็นด้วยตาเปล่า คนปกติอยู่ที่ 20/20 )
OD (ตาขวา) : 20/400@1เมตร
OS (ตาซ้าย) : 20/400@3เมตร
VA แว่นตัวเก่า
OD : 20/400
OS : 20/135
Covertest ( ตรวจหาตาเขตาเหล่ ) : Orthophoria
Retinoscope
OD : -5.00-1.50*180 VA 20/50
OS : -1.75-1.75*180 VA 20/50
Monocular Subjective
OD : -5.25-1.00*25 VA 20/25
OS : -2.00-1.50*160 VA 20/25
Best Visual Acuity
OD : -5.25-1.00*25 VA 20/25+2 with pinhole
OS : -2.25-1.50*160 VA 20/25+2 with pinhole
Associate phoria : 3 Prism Base In
Phoria @ distant Horizontal : 3 Base In
Vergence @distant BI x / 14 / 6
BO 10/ 16/ 0
Vertical : 0
Sup 3/0 R
Inf 3/0 R
Phoria @near ตรวจไม่ได้เนื่องจาก PD แคบเกินไป
BCC : +0.75
NRA : +2.00
PRA : -2.25
Confirm hand-held Refraction บน Trial frame
OD : -5.50-1.00*25 VA 20/25+2
OS : -2.25-1.25*155 VA 20/20+2
จะเห็นว่ามีค่าองศาสายตาเอียงที่เปลี่ยนไป เพราะเวลาเราหาองศาใน Phoropter จะอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งฉากกับแสงที่เข้ามา แต่เมื่อมาconfirm บน trial frame จะมีปัจจัยอื่นๆ เช่นมุมเทของหน้าแว่น มาเกี่ยวข้องด้วยทำให้ค่าองศาที่วัดได้มีการเปลี่ยนแปลงไป
วิเคราะห์ปัญหา
• ในระยะไกลคนไข้มีปัญหาสายตาสั้นและเอียงแบบ Compound Myopic Astigmatism ในตาทั้งสองข้าง
ตาขวา : สายตาสั้น -5.50 Diopter สายตาเอียง -1.00 Diopter ที่องศา 25
ตาซ้าย : สายตาสั้น -2.25 Diopter สายตาเอียง -1.25 Diopter ที่องศา 155
• และมีปัญหาสายตาทั้งสองข้างแตกต่างกันค่อนข้างเยอะ เรียกว่า Anisometropia
• ปัญหากล้ามเนื้อตา พบว่าคนไข้มีปัญหาตาเขออกซ่อนเร้นในระยะไกลแต่ยังมีแรงชดเชยของกล้ามเนื้อตาที่ยังสามารถดึงตาเข้าเพื่อรวมภาพได้เพียงพอ จึงไม่มีปัญหาและไม่ต้องแก้ไข
• เมื่อดูผลจากค่า BCC ในระยะใกล้คนไข้มีปัญหาการเพ่งของเลนส์ตา ต้องการ Addition +0.75 D ในการช่วยให้เห็นชัดที่ระยะ 40 ซม. ซึ่งเป็นค่าที่มากกว่าปกติเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอายุ ซึ่งเมือเทียบกับ ค่า NRA หรือความสามารถในการคลายการเพ่งของเลนส์ตาที่คนไข้เพ่งได้เองอยู่ที่ +2.00 Diopter มีความสมดุลกับค่า BCC ที่วัดได้ และสามารถเพ่งได้อีก -2.25 Diopter เมื่อดูจากค่า PRA
วิธีแก้ไขปัญหา
1. จ่ายแว่น full correct เพื่อแก้ไขปัญหาสายตา และลดการกระตุ้น Accommodationหรือการเพ่งของคนไข้ เพื่อทำให้ระบบการเพ่งของเลนส์ตากลับมาทำงานได้ปกติมากขึ้น
ค่าสายตาที่จ่ายแว่น
OD : -5.50-1.00*25
OS : -2.25-1.25*155
แก้ไขปัญหาโดย
ตาขวา : HOYA Nulux Classic VG index 1.67
ตาซ้าย : HOYA Nulux Classic VG index 1.60
กรอบแว่นตาคนไข้นำมาเอง
ขอขอบคุณผู้ปกครองของน้องท่านนี้ ที่ใส่ใจเรื่องการมองเห็นของน้องเป็นอย่างดี จากปัญหาของน้องมีค่าสายตาสั้นและเอียงค่อนข้างเยอะ และค่าสายตาสองข้างต่างกันมาก เป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหาตาขี้เกียจหากแก้ไขได้ไม่ทันเวลา ถึงแม้เมื่อแก้ไขด้วยแว่นแล้วการมองเห็นของน้องจะไม่สามารถดีเท่ากับคนปกติแต่ก็อยู่ในระดับที่น้อยกว่าไม่มาก สืบเนื่องมาจากน้องไม่ได้รับการแก้ไขค่าสายตาที่ถูกต้องตั้งแต่ช่วงที่ดวงตาของน้องกำลังพัฒนาอยู่ ทำให้ระบบการมองเห็นพัฒนาได้ไม่เต็มที่ แต่ระดับการมองเห็นที่น้องมองเห็นได้หลังจากแก้ไขด้วยแว่นแล้ว ' ไม่ถือว่าเป็น โรคตาขี้เกียจ '
Content by : Worada Saraburin , O.D.
ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์
ท่านใดที่สนใจนัดหมายเข้ารับบริการ ติดต่อได้ที่เบอร์ 065-949-9550
ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ
ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข 89/45 ม.3 ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic
อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์
Facebook Page : Vorada Optometry