Case Study : แก้ปัญหา Convergence Insufficiency ตาเขออกซ่อนเร้นจากการเหลือบตาเข้าไม่เพียงพอ
ปัญหา Convergence Insufficiency คือ ภาวะที่ตามีความสามารถในการเหลือบตาเข้าไม่เพียงพอ เนื่องจากคนที่มีปัญหา Convergence Insufficiency ตำแหน่งพักของตาจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ตาตรงเหมือนคนปกติ มองจากภายนอกอาจเห็นว่าตายังตรงอยู่ แต่จริงๆแล้วตาของคนไข้จะมีการเขออกไปทางด้านหู ปริมาณมุมเหล่นี้เราจะเรียกว่า Phoria หรือ Demand
ทำให้ร่างกายต้องสร้างแรงแรงหนึ่งขึ้นมาเพื่อช่วยดึงตา ( Reserve ) แรงในการดึงตาเข้าเราจะเรียกว่า Positive Fusional Vergence หรือแรงชดเชยในการดึงตาเข้าเพื่อให้ตายังคงตรงอยู่และยังสามารถรวมภาพให้เห็นเป็นภาพๆเดียวได้อยู่โดยไม่เห็นเป็นภาพซ้อน
หากแรงดึงของตาในการเหลือบตาเข้า หรือ Reserve ยังคงมีกำลังมากเพียงพอที่จะทำให้ตาทั้งสองข้างกลับมาตรงและยังรวมภาพเป็นภาพๆเดียวได้ ซึ่งแรงดึงของการเหลือตาเข้า หรือ Reserve จะต้องเป็น 2 เท่าของ Demand หรือปริมาณมุมเหล่ของคนไข้ถึงจะเรียกว่าเพียงพอ
แต่หากแรงดึงชดเชยนั้นมีปริมาณไม่เพียงพอ ก็จะทำให้มีอาการไม่สบายตาต่างๆ หรืออาการภาพซ้อนตามมาได้
Convergence Insufficiency เป็นภาวะที่ตาเป็น Exophoria หรือตาเขออกเมื่อมองในระยะใกล้มากกว่าในการมองที่ระยะไกล ซึ่งในระยะไกลอาจมีภาวะตาเขออกเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีเลยได้เช่นกัน
ปัญหา Convergence Insufficiency นี้สามารถพบได้ประมาณ 3 - 5 เปอร์เซนต์ของประชากร
- • อาการที่พบได้ในคนที่มีปัญหา Convergence Insuficiency คือ
1. มีอาการปวดตา ล้าตา ปวดศีรษะ เวลาใช้สายตาในระยะใกล้นานๆ หรือมองระยะใกล้ได้แป๊บเดียว
2. ตาล้า ง่วงนอนบ่อย
3. เห็นภาพเบลอ
4. เห็นภาพซ้อน
5. โฟกัสอะไรนานๆไม่ค่อยได้ จดจ่อได้ไม่นาน
6. รู้สึกตึงๆบริเวณรอบดวงตา
ในบางคนอาจจะไม่แสดงอาการ ซึ่งอาจเกิดจากการ Suppression หรือการตัดสัญญาณการมองเห็นของสมองได้
- • อาการที่พบได้จากการตรวจ
1. Near Point of Convergence หรือ NPC ลดลง
2. ปริมาณมุมเหล่ Exophoria ที่วัดได้ที่ระยะใกล้มากกว่าที่ระยะไกล
3. Low Ac/A ratio ( 3 : 1 หรือน้อยกว่า )
4. ปริมาณ Positive Fusional Vergence ( PFV ) หรือแรงดึงในการเหลือบตาเข้าน้อยที่ระยะใกล้ ดูได้จากการทำ Reserve Base Out
5. Negative Relative Accommodation ( NRA ) ต่ำ NRA เป็นการใส่เลนส์ + เพื่อกระตุ้นการ Relax Accommodation เมื่อเราใส่เลนส์ + เข้าไป แต่เรายังให้คนไข้ Focus ภาพที่ตำแหน่งเดิมอยู่นั่นคือ 40 cm. ทุกครั้งที่ตามีการ Relax Accommodation ตาจะเกิดการ Divergence คู่กันด้วยเสมอ เมื่อเราใส่เลนส์ + ไปเรื่อยๆ กระตุ้นการ Relax Accommodation ตา Divergence ไปเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งจะเกิดภาพเบลอ และแยก ร่างกายของเราจึงสร้างแรง Positive Fusional Vergence เข้ามาช่วยโดยอัตโนมัติเพื่อให้สามารถมองเห็นภาพภาพเดียวและยังชัดอยู่ได้ แต่เมื่อ Positive Fusional Vergence หมด ก็จะทำให้เราเห็นเป็นภาพแยกได้ ( การทำ NRA จึงเป็นการดู PFV แบบอ้อมได้ ว่ามีปริมาณมากหรือน้อย )
ดังเคสตัวอย่างที่นำมาให้ดูวันนี้
คนไข้ชาย อายุ 38 ปี
จากการซักประวัติพบว่า ตอนนี้มองไกลๆยังชัดอยู่ รู้สึกว่าตาข้างขวาเหมือนต้องใช้ระยะเวลาในการ Focus นาน มีอาการมองใกล้ไม่ชัดบ้างเวลาใช้สายตานานๆ
ใส่แว่นครั้งแรกตอนอายุประมาณ 25 ปี ใส่ตลออดเวลา
เห็น Floater หรือหยากไย่ บ้างบางครั้งเวลาออกแดด แต่นานๆเป็นที ไม่ได้เป็นบ่อยๆ
ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน พักบ้างแป๊บนึงแล้วกลับมาใช้ต่อ
ใช้โทรศัพท์มือถือวันละประมาณ 6 ชั่วโมง ใช้แบบต่อเนืองประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง
ค่าสายตาแว่นเดิม
OD : -1.25-0.75*86
OS : -0.75-0.50*100
VA ตาเปล่า ( ความสามารถในการมองเห็นด้วยตาเปล่าของคนปกติอยู่ที่ 20/20 )
OD ( ตาขวา ) : 20/135-1
OS ( ตาซ้าย ) : 20/100-2
OU ( สองตา ) : 20/100-2
Covert test ( เพื่อตรวจหาปัญหาตาเขตาเหล่ซ่อนเร้น ) : Exophoria @ near มีปัญาตาเขออกซ่อนเร้นที่ระยะใกล้
• ขั้นตอนการตรวจหาค่าสายตา
Retino scope ( หาค่าสายตาโดยดู reflec ที่สะท้อนออกมาจากดวงตาคนไข้)
OD : -1.50 VA 20/20-2
OS : -1.00 VA 20/20
Monocular subjective
OD : -0.75-1.00*85 VA 20/20
OS : -2.50-1.50*165 VA 20/20
Best Visual Acuity
OD : -0.75-1.00*85 VA 20/20
OS : -0.75-0.50*100 VA 20/20
Confirm hand-held Refraction บน Trial frame
OD : -0.75-1.25*80 VA 20/20
OS : -0.75-1.00*95 VA 20/20
จะเห็นว่ามีค่าองศาสายตาเอียงที่เปลี่ยนไป เพราะเวลาเราหาองศาใน Phoropter จะอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งฉากกับแสงที่เข้ามา แต่เมื่อมาconfirm บน trial frame จะมีปัจจัยอื่นๆ เช่นมุมเทของหน้าแว่น มาเกี่ยวข้องด้วยทำให้ค่าองศาที่วัดได้มีการเปลี่ยนแปลงไป
• ขั้นตอนการตรวจกล้ามเนื้อตา : หาปริมาณ , ทิศทางของตาเหล่ซ่อนเร้น ( Phoria ) และแรงชดเชยในการเหลือบตาเข้าและออก ( Vergence )
Phoria & Vergence @ Distant 6 m
Phoria Horizontal : 3 BI
Vergence : BI x / 15 / 9
BO 8 / 12 / -2
Phoria Vertical : 0
Phoria & Vergence @ near 40 cm.
Phoria Horizontal : 10.5 BI
Vergence BI 10 / 26 / 24
BO 10 / 12 / -2
Phoria Vertical : 0
Gradient : 13 BI
AC/A ratio ( ความสัมพันธ์ระหว่าง Accommodative vergence กับ Accommodation ): 2.5 : 1
• ขั้นตอนการตรวจการเพ่งของเลนส์ตา
NRA ( ความสามารถในการคลายการเพ่งของเลนส์ตา ) : +2.00
PRA ( ความสามารถในการเพ่งของเลนส์ตา ) : -3.75
BCC ( ค่า Addition ที่คนไข้ต้องการช่วยในการเพ่งให้เห็นชัดที่ระยะ 40 cm. ) : -0.25
วิเคราะห์ปัญหา
- • ในระยะไกลคนไข้มีปัญหาสายตาสั้นและเอียงแบบ Compound Myopic Astigmatism ทั้งสองข้าง
ตาขวา : สายตาสั้น 0.75 สายตาเอียง 1.25 Diopter ที่องศา 80
ตาซ้าย : สายตาสั้น 0.75 สายตาเอียง 1.00 Diopter ที่องศา 95
- • ในระยะใกล้จากผลการตรวจประเมินค่าต่างๆพบว่าคนไข้มีปัญหา Convergence Insufficiency
เนื่องจากปัญหา Convergence Insufficiency เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ Binocular Vision หรือการทำงานร่วมกันของทั้งสองตาจึงไม่สามารถบอกได้ว่า แต่ละตามีมุมเหล่เท่าไหร่แต่สามารถบอกออกมาเป็นผลรวมได้ว่ามุมเหล่ที่ตาทั้งสองข้างมีอยู่คือเท่าไหร่
จากเคสคนไข้พบว่า ที่ระยะไกล มี Phoria อยู่ที่ 3 Prism Base In ( Exodeviation ) มี Positive Fusional Vergence ที่เพียงพอ และที่ระยะใกล้ มี Phoria อยู่ที่ 10.5 Prism Base In ( Exodeviation ) มี Positive Fusional Vergence ไม่เพียงพอ
Ac/A ratio ต่ำ
BCC เป็น lead of Accommodation
NRA เมื่อเทียบกับอายุและค่า Bcc ค่อนข้างต่ำ
เนื่องจากคนไข้มีปัญหา Divergence Insufficiency จึงพิจารณาจ่ายเป็นแว่นปริซึมเพื่อแก้ไขปัญหา
คำนวณการจ่าย Prism จากสูตร
Prism = 2/3(Demand) - 1/3(Reserve)
ดังนั้นค่าสายตาที่จ่ายแว่นคือ
OD : -0.75-1.25*80 Prism 1.5 BaseIn
OS : -0.75-1.00*95 Prism 1.5 BaseIn
การใส่ปริซึมไปในเลนส์จะทำให้เลนส์มีความหนาด้านใดด้านหนึ่ง การใส่ปริซึม Base In จึงทำให้มีความหนาในด้าน Nasal ของกรอบแว่นมากกว่าในด้าน temperal ( ยิ่งปริมาณปริซึมมาก เลนส์จะยิ่งหนามาก ) ทั้งนี้การใส่ปริซึมเข้าไปในเลนส์จะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของภาพ เป็นการเลื่อนตำแหน่งภาพให้มาตรงกับตำแหน่งที่ตาของคนไข้กำลังมองอยู่ ทำให้ตาไม่ต้องใช้แรงในการรวมภาพมากเท่าเดิม จึงช่วยให้คนไข้รวมภาพได้ง่ายและสบายตามากขึ้น
ซึ่งการใส่เลนส์ปริซึม จะมี Abberation เกิดขึ้นและในคนไข้ที่ใส่ Prism Base In จะปรับตัวได้ยากกว่า Prism Base Out
แก้ไขปัญหาโดย
เลนส์ Hoya Single Vision Hilux Classic index 1.60 VP
กรอบแว่นตาคนไข้นำมาเอง
ในวันที่คนไข้มารับแว่น ใส่ครั้งแรกภาพที่เห็นยังคงไม่ค่อยปกติ มีภาพลอยๆอยู่บ้าง จึงอธิบายให้คนไข้ได้เข้าใจว่ามันคือผลข้างเคียงของการใส่เลนส์ปริซึม และให้คนไข้พยายามใส่บ่อยๆเพื่อปรับตัว
และในปัจจุบันคนไข้บอกว่าสามารถใส่แว่นได้ปกติแล้ว
Content by : Worada Saraburin , O.D.
ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์
ท่านใดที่สนใจนัดหมายเข้ารับบริการ ติดต่อได้ที่เบอร์ 065-949-9550
ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ
ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข 89/45 ม.3 ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic
อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์
Facebook Page : Vorada Optometry