Amblyopia with Refractive error ตาขี้เกียจ ที่เกิดจากปัญหาสายตา
จากครั้งที่แล้ว ที่เราได้อธิบายเกี่ยวกับภาวะ Amblyopia หรือตาขี้เกียจกันไปแล้ว (ท่านใดที่สนใจสามารถเข้าไปตามอ่านได้ที่ลิ้งนี้ได้ https://voradaoptometry.com/knowleage/detail/29 )
ตาขี้เกียจ คือ ภาวะที่การมองเห็นลดลงกว่าปกติ อาจเป็นเพียงตาเดียวหรือเป็นทั้งสองตาก็ได้ เมื่อแก้ไขด้วยแว่นแล้วความสามารถในการมองเห็นยังคงน้อยกว่า 20/40 หรือ ความสามารถในการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างต่างกัน 2 บรรทัดเมื่อตรวจวัดจาก Snellen chart โดยการมองเห็นที่ลดลงต้องอยู่ในเงื่อนไขคือ ต้องไม่มีโรคทางตาใดๆ มาเกี่ยวข้อง
สาเหตุของ Amblyopia หรือ ตาขี้เกียจก็คือ มีอะไรมาบดบัง หรือขัดขวางการพัฒนาการของระบบการมองเห็นในช่วงวัยทารกหรือวัยเด็ก ทำให้ระบบการมองเห็นพัฒนาได้ไม่เต็มที่
ชนิดของการเกิด Amblyopia แบ่งตามสาเหตุการเกิด ได้ทั้งหมด 3 ชนิดคือ
1. Refractive Error : การหักเหแสงในดวงตาที่ผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหา สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง
2. Strabismus : ตำแหน่งตาทั้งสองข้างไม่อยู่ในแนวตรงตามธรรมชาติ ตาเขตาเหล่
3. Deprivation : โรคทางตาต่างๆ เช่น ต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด หนังตาตก
วันนี้เราจะมาพูดถึง Amblyopia ที่เกิดจาก Refractive Error : ( การหักเหแสงในดวงตาที่ผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหา สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง )
- • Amblyopia ที่เกิดจาก Refractive Error จะมีการแบ่งย่อยไปอีก ก็คือ
1. Isometropic = ค่าสายตาของตาทั้ง 2 ข้างที่สูงมากพอๆกัน
เมื่อตาทั้งสองข้างมีค่าสายตาที่มาก ทำให้เกิดภาพเบลอที่บริเวณจอตา แล้วไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อเวลาผ่านไปดวงตาไม่ได้ใช้งาน ทำให้การพัฒนาของระบบการมองเห็นชะลอตัวลง เป็นสาเหตุของการเป็นตาขี้เกียจทั้งสองข้าง
ในคนไข้ที่เป็น Isometropia จะมีความเสี่ยงในการเกิดเป็นตาขี้เกียจเมื่อ
มีสายตาเอียง ที่ มากกว่า 2.50 Diopters ขึ้นไป
สายตายาว ที่ มากกว่า 5.00 Diopters ขึ้นไป
สายตาสั้น ที่ มากกว่า 8.00 Diopters ขึ้นไป
2. Anisometropic = ค่าสายตาของตาทั้ง 2 ข้างต่างกัน
เมื่อตาทั้งสองข้างมีค่าสายตาที่ไม่เท่ากัน ทำให้ความคมชัดของการมองเห็นภาพต่างกัน ตาข้างที่มีค่าสายตาน้อยกว่าจะเห็นภาพได้ชัดกว่า ส่วนตาอีกข้างนึงที่มีค่าสายตาเยอะกว่าภาพที่เห็นจะเบลอกว่า ถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไข ตาข้างที่มองเห็นภาพชัดกว่าจะถูกกระตุ้นให้มีการพัฒนามากกว่าตาข้างที่มองเห็นภาพที่ชัดน้อยกว่า ในตาข้างที่เห็นภาพชัดน้อยกว่าสมองอาจสั่งให้เกิดการ suppression หรือการตัดสัญญาณภาพให้ไม่สนใจภาพในตาข้างนั้น ทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจตามมา
ในคนไข้ที่เป็น Anisometropia จะมีความเสี่ยงในการเกิดเป็นตาขี้เกียจเมื่อ
ค่าสายตาเอียงต่างกัน มากกว่า 1.50 Diopters ขึ้นไป
ค่าสายตายาวต่างกัน มากกว่า 1.00 Diopters ขึ้นไป
ค่าสายตาสั้นต่างกัน มากกว่า 3.00 Diopters ขึ้นไป
ซึ่งอ้างอิงข้อมูลมาจาก textbook Optometric Clinical Practice Guideline Care Of The Patient With Amblyopia
Case Study
คนไข้หญิง อายุ 18 ปี
จากการซักประวัติพบว่า
มีอาการมองไกลไม่ชัด เป็นมานานแล้วประมาณ อายุ 12 ปี
มองใกล้เห็นชัดปกติ
มีอาการตาล้า ปวดตา ตาแห้งในช่วงเย็น เป็นค่อนข้างบ่อย แต่ไม่ได้เป็นทุกวัน
ใส่แว่นครั้งแรกตอนอายุ 12 แว่นปัจจุบันเป็นตัวที่ 3 ใช้มา 3-4 ปีแล้ว ตอนนี้เริ่มมัว
น้องเป็นนักเรียน ใช้คอมพิวเตอร์วันละประมาณ 5-6 ชั่วโมง แบบต่อเนื่อง
ใช้โทรศัพท์เกินวันละ 6 ชั่วโมง เล่นทั้งวัน ว่างเมื่อไหร่ก็เล่น
สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว
ค่าสายตาแว่นเดิม
OD(ตาขวา) : -1.50-2.00*173 VA 20/200
OS(ตาซาย) : -1.25-2.00*5 VA 20/200-2
VA ตาเปล่า
OD : 20/400@2m Pinhole : 20/200-2
OS : 20/400@2m Pinhole : 20/200
Cover test ( ตรวจดูความผิดปกติตาเขตาเหล่ซ่อนเร้น ) : Orthophoria
Retinoscope
OD : -3.50-3.50*180 VA 20/50+2
OS : -2.25-3.50*180 VA 20/50+1
Monocular Subjective
OD : -3.25-4.25*175 VA 20/40-2
OS : -1.25-3.50*180 VA 20/50
Best Vidual Acuity
OD : -3.25-4.25*175 VA 20/40-2
OS : -2.00-3.50*180 VA 20/50
BCC : +0.25
Confirm hand-held Refraction บน Trial frame
OD : -3.25-4.00*175 VA 20/40-1 withpinhole
OS : -2.50-3.25*5 VA 20/50+2 withpinhole
วิเคราะห์ปัญหา
•ในระยะไกลคนไข้มีปัญหาสายตา
ตาขวา : สายตายสั้น 3.25 สายตาเอียง 400 ที่องศา 175
ตาซ้าย : สายตาสั้น 2.50 สายตาเอียง 3.25 ที่องศา 5
• คนไข้มีปัญหา Amblyopia หรือภาวะตาขี้เกียจ ซึ่งเกิดเนื่องจากคนไข้มีสายตาสั้นและสายตาเอียงที่มาก แต่ไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก จึงทำให้ระบบการมองเห็นพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ความสามารถในการมองเห็นจึงลดน้อยลงเมื่อเทียบกับคนปกติ
วิธีแก้ไขปัญหา
1. จ่ายแว่นตา full correction เพื่อแก้ไขปัญหาสายตา และลดการ accommodationหรือการเพ่ง เพื่อให้คนไข้มองเห็นได้ดีที่สุด
ค่าสายตาที่จ่ายแว่น
Full correct
OD : -3.25-4.00*175
OS : -2.50-3.25*5
แก้ไขปัญหาโดย
เลนส์ Hoya Nulux classic Hi-vision view protect [VP] index 1.60
กรอบแว่นตา Eyecosplay Handmade
จะเห็นได้ว่าคนไข้เป็นตาขี้เกียจ ที่เกิดจากสาเหตุ Refractive error แบบ Isometropia คือมีค่าสายตาที่มากทั้งสองข้าง สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของเคสนี้ก็คือ พี่ชายของคนไข้ ก็เป็นภาวะตาขี้เกียจและมีค่าสายตาที่สูงมากพอๆกันด้วย (สามารถศึกษาได้จากลิ้งนี้นะคะ https://voradaoptometry.com/casestudy/detail/16 )
ซึ่งกรรมพันธุ์จะมีผลต่อภาวะตาขี้เกียจหรือไม่นั้น เราขอไปหาข้อมูลเพิ่มเติมให้แน่ใจก่อนแล้วจะมาเขียนให้ทุกคนได้อ่านกันในบทความต่อๆไปนะคะ
Content by : Worada Saraburin , O.D.
ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์
ท่านใดที่สนใจนัดหมายเข้ารับบริการ ติดต่อได้ที่เบอร์ 065-949-9550
ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ
ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข 89/45 ม.3 ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic
อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์
Facebook Page : Vorada Optometry