Case study : Anisometropia (ค่าสายตาสองข้างต่างกัน)

 

Anisometropia เป็นอีก 1 ปัญหา ซึ่งพบได้บ่อยตั้งแต่ได้มาเปิดร้านแว่นเป็นของตัวเอง
ซึ่งส่วนมากจะพบในเด็กวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ คนไข้มักจะมาด้วยอาการที่รู้สึกว่า ใช้มือปิดตาแล้วเห็นภาพชัดไม่เท่ากันบ้าง หรืออาจจะไม่ได้มีอาการใดๆมาเลยก็มี ซึ่งอาจเกิดจากตาหนึ่งมองที่ระยะไกลชัด ส่วนอีกตาหนึ่งมองที่ระยะใกล้ชัด จึงไม่ได้รู้สึกมีปัญหาอะไร

เมื่อ Accommodation ถูกกระตุ้นในปริมาณที่เท่ากัน จะมีการตอบสนองเท่ากันทั้ง 2 ตา
แต่หากเรา uncorrect anisometropia หรือ แก้ค่าสายตาไม่หมด จะทำให้ภาพที่เกิดบริเวณ retina หรือ จอประสาทตามีความคมชัดที่ไม่เท่ากัน ทำให้กลไกของตาทั้งสองข้างทำงานได้ไม่เท่ากัน

แต่……. เมื่อค่าสายตาของตา ทั้ง 2 ข้างมันไม่เท่ากัน จึงทำให้ขนาดของภาพที่เห็น มันไม่เท่ากันด้วยเมื่อแก้ไขด้วยแว่น ซึ่งสามารถทำให้เกิดปัญหาได้ นั่นคือ

1. Prism effect ต่างกัน เมื่อตามีการ movement
2. Aniseikonia ขนาดของภาพจากตาทั้ง 2 ข้าง มีขนาดต่างกัน

 

  • 1. Differential Prismatic Effect

 

อย่างที่เคยบอกไปแล้วว่า เลนส์แว่นตาที่เราใส่กันอยู่มันจะมีลักษณะคล้ายกับการเอาปริซึม 2 อันมาต่อกัน

 Concave Lens หรือเลนส์เว้าที่ช่วยแก้ไขปัญหาสายตาสั้น จะมีลักษณะคล้ายกับการเอายอดหรือ Apex ของปริซึมมาต่อกัน

Convex Lens หรือเลนส์นูนที่ช่วยแก้ไขปัญหาสายตายาว จะมีลักษณะคล้ายกับการเอาฐานหรือ Base ของปริซึมมาต่อกัน

Optical center คือ ตำแหน่งศูนย์กลางเลนส์ของแว่นตา
ที่ตำแหน่ง Optical center  จะมีค่าปริซึมเท่ากับ 0

 

ถ้าตำแหน่งตาของเราตรงกับตำแหน่งของ Optical center ของเลนส์เราจะมองอยู่ในตำแหน่งที่ค่าปริซึม เท่ากับ ศูนย์

เมื่อ Optical center ไม่ตรงกับตำแหน่งตาดำ ทำให้ภาพที่เรามองเห็นเหมือนกับการมองผ่านปริซึม ซึ่งเราจะเรียกว่า Prism Effect

Prism Effect จะเกิดเมื่อ Visual Axis ผ่าน lens บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ Optical Center

•ดูภาพหรือศึกษาเกี่ยวกับ Prism Effect เพิ่มเติมได้จาก https://voradaoptometry.com/faq/detail/12

 

เมื่อตามองไปทางขวา แล้วคนไข้ใส่เลนส์นูน หรือเลนส์บวก
ในตาข้างขวา จะได้รับ Prism Effect  Base In
ในตาข้างซ้าย จะได้รับ Prism Effect  Base Out

เมื่อตามองไปทางซ้าย
ในตาข้างขวา จะได้รับ Prism Effect  Base Out
ในตาข้างซ้าย จะได้รับ Prism Effect  Base In

*ถ้าเลนส์ที่ใส่เพื่อแก้ไขค่าสายตามี Power ที่ต่างกัน Prism Effect ที่พบก็จะต่างกัน
 

ในแนว Vertical หรือ บน-ล่าง ก็มีปัญหา Prism Effect เหมือนกัน
เมื่อมองผ่านเลนส์นูน แล้วตาเคลื่อนที่ต่ำลง  ก็จะ induce Base Up ที่ต่างกัน

Anisometropia ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่อายุ 5-6 ปีอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด Amblyopia ได้

คนที่มีปัญหา Anisometropia น้อยหรือค่าสายตาต่างกันน้อยๆอาจจะไม่แสดงอาการ

 

  • 2. Aniseikonia

 

( Image of different size or shapes for the two eyes )
ขนาดภาพและความชัดของภาพของตาแต่ละข้างต่างกัน

- การเป็น Aniseikonia ต้องดูว่าเป็นจาก Anatomical หรือ Optical lens


Anatomical เกิดจากความหนาแน่นของ Photoreceptors หรือ cell รับแสงบริเวณ Retinaหรือจอประสาทตาของทั้ง 2 ตาต่างกัน หรือมีความผิดปกติที่การส่งสัญญาณภาพไปยังสมองที่บริเวณ visual cortex

Optical lens เกิดจาก เมื่อแก้ไขด้วยเลนส์แว่นตาตาทั้ง 2 ข้าง มีกำลังขยายที่ต่างกัน
Retinal image หรือภาพที่ไปตกบริเวณจอประสาทตามีขนาดที่เล็กกว่าหรือใหญ่กว่าตาอีกข้างหนึ่ง ทำให้ขนาดของภาพในตาทั้ง2ข้าง มีขนาดใหญ่ไม่เท่ากัน

ดังนั้น การจ่ายแว่นให้กับคนไข้ที่มีปัญหา Anisometropia จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนไข้อย่างมากในการปรับตัวกับค่าสายตาที่ต่างกัน  ในช่วงแรก และอาศัยศิลปะในการจ่ายแว่นเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาคนไข้ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย 

 

ยกตัวอย่าง เคสของน้องคนหนึ่งอายุ 18 ปี

อยากเปลี่ยนแว่นใหม่ เพราะแว่นตัวเก่าใกล้พังแล้ว แว่นตัวเก่าใช้มา 5 ปีแล้ว  จากการสังเกตุพฤติกรรมของน้อง  น้องชอบหรี่ตาเวลาต้องมองอะไรบางอย่าง
สุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว

ค่าสายตาแว่นเก่า
OD (ตาขวา) : -3.00-1.00*174            VA 20/30-1
OS (ตาซ้าย) : -4.25-1.00*180.           VA 20/200

VA ตาเปล่า
OD : 20/200@1m
OS : 20/200@1m

Retinoscope
OD : -4.00-2.00*180            VA 20/30
OS : -7.00-2.50*180             VA 20/30

Monocular Subjective
OD : -4.00-1.75*155             VA 20/25
OS : -6.75-2.50*10               VA 20/25

Best Visual Acuity
OD : -4.00-1.75*155             VA 20/25 with pinhole
OS : -6.75-2.50*10                VA 20/25 with pinhole

Freespace
OD : -4.00-1.75*155
OS : -6.50-2.50*10

ค่าสายตาที่จ่ายแว่น
OD : -4.00-1.75*155
OS : -6.50-2.50*10

กรอบแว่นตา eyecosplay Handmade

 

   

 

ใส่แว่นครั้งแรกน้องรู้สึกว่าภาพชัดขึ้นแต่ภาพยังไม่ค่อยปกติ  มีมึนๆหัวบ้าง เลยบอกให้น้องพยายามใส่บ่อยๆ ถ้าใส่แล้วรู้สึกมึนหัวมาก  ก็ให้ถอดแล้วใส่สลับกับแว่นตัวเก่า แต่ให้พยายามใส่บ่อยๆ   จนในที่สุด น้องก็ทักมาบอกว่าแว่นที่ตัดไปใส่ได้ปกติแล้ว   ตอนนี้ใส่ทุกวัน ไม่มึนหัวใดๆ

และใช่ค่ะลุ้นกับแว่นของน้องจนลืมถ่ายรูป จึงต้องขอความช่วยเหลือจากน้องให้น้องถ่ายมาให้ที   ก็ได้ภาพอย่างที่เห็นเลยค่ะเป็นฝีมือการถ่ายภาพของนัองเจ้าของแว่น

จากเคสที่ได้ยกตัวอย่างไปนี้จะเห็นได้ว่า VA หรือความสามารถในการมองเห็นของน้องเมื่อแก้ไขด้วยแว่นแล้วอาจจะดีได้ไม่เท่ากับคนปกติ (คนปกติ VA 20/20 ขนาดตัวอักษรจะมีขนาดเล็กกว่า VA 20/25) แต่ก็ไม่ได้น้อยเกินไปจนถึงขั้นเป็นตาขี้เกียจ

 

ตัวอย่างเคส Anisometropia เพิ่มเติม https://www.facebook.com/105251858369014/posts/272899418270923/

ดังนั้นท่านใดที่รู้สึกว่าตาทั้งสองข้าง มองเห็นได้ชัดไม่เท่ากัน หรือรู้สึกไม่สบายตา ก็อยากให้เข้ารับการตรวจสายตาให้เร็ว  รู้ปัญหาเร็ว  แก้ไขได้เร็วและทันเวลา การมองเห็นก็มีโอกาสที่จะมองเห็นได้ดีและกลับมาเป็นปกติได้ค่ะ

 

Content by : Worada  Saraburin  , O.D.

 

ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์

ท่านใดที่สนใจนัดหมายเข้ารับบริการ ติดต่อได้ที่เบอร์ 065-949-9550

ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ

 

 

ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข  89/45 ม.3​ ต.บางกรูด​ อ.บ้านโพธิ์​ จ.ฉะเชิงเทรา​  

https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic

อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์

 

Facebook Page : Vorada Optometry