ASTIGMATISM : CLASSIFICATIONS การจำแนกสายตาเอียง 5 ประเภท

 


สายตาเอียง หรือ Astigmatism เกิดจากความโค้งของ Media ในตาเราที่มีผลต่อการหักเหของแสง คือ กระจกตา  และเลนส์แก้วตามีความโค้งในแต่ละแกนไม่เท่ากัน  มีผลทำให้เมือแสงผ่านเข้าไปจึงมีกำลังหักเหที่ไม่เท่ากันในแต่ละแกน  เกิดการโฟกัสเป็นเส้นไม่ใช่จุดมากกว่า 1 เส้น  เรียกว่า Focal line  ท่านใดที่สนใจอ่านเนื้อหาสายตาเอียงเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ https://voradaoptometry.com/casestudy/detail/23

Power ของแต่ละแกนไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนจะไม่เท่ากัน ซึ่งจะมีแกนหนึ่งมีค่าเป็น 0 และอีกแกนหนึ่งจะมีกำลังของค่าสายตาเอียงหรือ Cylinder โดยทั้งสองแกนจะตั้งฉากกัน  
สายตาเอียงที่มีสาเหตุดังกล่าว จะเป็นสายตาเอียงที่พบได้บ่อยในคนปกติ หรือเรียกว่า regular astigmatism ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ spherocylindrical lens

สายตาเอียงอีกแบบหนึ่ง หรือเรียกว่า Irregular astigmatism มักมีสาเหตุมาจาก อุบัติเหตุ , การผ่าตัด หรือโรคตาบางโรค เช่น โรคกระจกตาโค้ง หรือ Keratoconus ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ spherocylindrical lens 

 

ในฐานะที่ขิงเป็นทัศนมาตร  ในบทความนี้จึงขอเน้นไปในส่วนของ regular astigmatism เป็นหลัก 
จะมาอธิบายถึงประเภทของสายตาเอียงแบบละเอียดๆให้ท่านที่อ่านได้เข้าใจ หากเราเข้าใจเราจะจำมันได้ไปตลอดชีวิต  แต่หากเราท่องจำ สักวันความจำนั้นมันจะหายไปในที่สุด  เพราะขิงก็เคยเป็นแบบนั้นมาก่อนเหมือนกัน จำ ลืม จำ ลืม หรือบางทีจำไปแบบงงๆก็ยังเคย ถ้าถามว่าจำแล้วได้ประโยชน์อะไร คำตอบคือไม่ได้ เพราะเอามาใช้ไม่เป็น  เหมือนท่องนะโมตัสสะ แบบไม่รู้ว่านะโมตัสสะแปลว่าอะไร ท่องมันจนขึ้นใจ บางทีท่องไปแต่ใจลอยไปไหนไม่รู้ ถามว่าได้ประโยชน์อะไร  ก็ตอบเลยว่าไม่มี  ได้แค่ความรู้สึกดีที่ว่า ฉันท่องนะโมตัสสะได้ แค่นั้น
วันนี้เลยอยากมาแบ่งปันความรู้ในแบบฉบับของขิง ที่พยายามใช้ภาษาง่ายๆให้ทุกคนได้เข้าใจกันมากที่สุด   

 

เมื่อให้คนที่มีปัญหาสายตาเอียงมองไปที่วัตถุหนึ่งที่ระยะอนันต์ หรือในระยะ 6 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ดวงตาอยู่ในภาวะ Relax accommodation หรือไม่มีการเพ่ง ภาพที่เกิดขึ้นบนจอตา จะเกิดเป็น Focal line 2 แนวแกนทีตั้งฉากกัน   ซึ่งจะแบ่งออกเป็น  5 ประเภท 

 

ประเภทสายตาเอียงในทางคลินิก ที่จำแนกจากตำแหน่งการตกของ Focal line 

1. Compound Myopic Astigmatism ( CMA ) : Focal line ทั้งสองเส้นตกหน้าจอตา
2. Simple Myopic Astigmatism ( SMA ) : Focal line หนึ่งตกที่จอตาและอีกเส้นหนึ่งตกหน้าจอตา
3. Mixed Astigmatism ( MA ) : Focal line หนึ่งตกหลังจอตาและอีกเส้นหนึ่งตกหน้าจอต
4. Compound Hyperopic Astigmatism ( CHA ) :
Focal line ทั้งสองเส้นตกหลังจอตา
5. Simple Hyperopic Astigmatism ( SHA ) : Focal line หนึ่งตกที่จอตาและอีกเส้นหนึ่งตกหลังจอตา


ยกตัวอย่างการวิเคราะห์ประเภทสายตาเอียง จากผลการตรวจหา Best Visual Acuity ( BVA ) 

#Note :

Power meridian = องศาที่ใช้ในการประกอบเลนส์ หรือ การเขียน Power cross : เรติโนดูตามแนวกวาด และใช้ Sphere lens neutral ทั้ง 2 แกน   

Axis meridian = องศาที่ใช้ดูใน Lensometer เป็นองศาของ Focal line : เรติโนแบบดูแนวแสง และใช้ Sphere lens neutral ทั้ง 2 แกน

 

 

  • •  ตัวอย่างที่ 1 จากผลการตรวจ Best Visual Acuity ได้ออกมาเป็น -5.00 −2.00 × 180

เมื่อนำมาเขียน Power cross จะสามารถเห็นการตกของ Focal line แต่ละแกนได้ว่าตกที่ตำแหน่งไหน ก่อน หลัง หรือบริเวณจอตาพอดี

 

ตามภาพ เป็นตำแหน่งการตกของ Focal line ของคนไข้ที่ยังไม่ได้รับแก้ไขค่าสายตา และกำลังมองวัตถุที่ระยะไกล ในภาวะ Relax Accommodation จะเห็นว่าไม่ว่าจะใช้เทคนิคการทำ Retinoscope แบบไหน เมื่อนำมาเขียนเป็น Focal line จะเห็นว่า Focal line ทั้งสองเส้น จะตกอยู่ด้านหน้าจอตาทั้งสองเส้น จึงสรุปได้ว่าคนไข้มีปัญหาสายตาเอียงแบบ Compound Myopic Astigmatism.

 

  • •  ตัวอย่างที่ 2  จากผลการตรวจ Best Visual Acuity ได้ออกมาเป็น +2.00 −3.00 × 90
  •  

ตามภาพ เป็นตำแหน่งการตกของ Focal line ของคนไข้ที่ยังไม่ได้รับแก้ไขค่าสายตา และกำลังมองวัตถุที่ระยะไกล ในภาวะ Relax Accommodation จะเห็นว่า Focal line เส้นหนึ่งตกก่อนจอตาและอีกเส้นหนึ่งตกหลังจอตา จึงสรุปได้ว่าคนไข้มีปัญหาสายตาเอียงแบบ Mixed astigmatism.

 


หลังจากแก้ไขค่าสายตาได้ค่า Best Visual Acuity ของคนไข้ออกมาได้เรียบร้อยแล้ว มา Confirm hand-held JCC บน Trial frame อีกรอบ จนกว่าคนไข้จะเห็นภาพทั้ง 2 ภาพที่เราให้ทำการเปรียบเทียบชัดพอๆกันแล้ว ภาพ Focal line ของคนไข้จะกลายเป็นแบบภาพด้านล่างนี้  หากท่านใดยังไม่ทราบว่าการทำ  JCC คืออะไร  สามารถไปอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ https://voradaoptometry.com/knowleage/detail/46 เมื่อทำจนถึงจุดนี้แสดงว่าหน้าที่การตรวจหาค่าสายตาของเราได้สิ้นสุดลงเป็นที่เรียบร้อย

 

 

หวังว่าบทความนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับท่านที่สนใจ  ทั้งในวิชาชีพ นอกวิชาชีพ และเพื่อนร่วมวิชาชีพไม่มากก็น้อย  ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านบทความต่างๆของขิงเสมอมา    

 

 


Content by : Worada Saraburin , O.D.

 

Ref : Ref : TEXTBOOK GEOMETRICAL VISUAL OPTICS  
          A Clinical Introduction

 

ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์

นัดหมายเพื่อเข้ารับบริการ 065-9499550

ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ 

ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข  89/45 ม.3​ ต.บางกรูด​ อ.บ้านโพธิ์​ จ.ฉะเชิงเทรา​  

https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic

อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์

สามารถจอดรถบริเวณหน้าร้านได้เลยค่ะ