JCC : JACKSON CROSSED CYLINDER 

การหาสายตาเอียงแบบละเอียด

 

 

สายตาเอียง เป็นปัญหาที่พบในคนส่วนมาก ในบางคน ก็อาจจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะสายเอียงอยู่ด้วย  ในคนที่มีค่ากำลังสายตาเอียงที่น้อย แต่ไม่ได้รับการแก้ไข อาการอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นให้เห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนกับคนที่มีสายตาเอียงมากๆ ที่จะมองเห็นภาพวัตถุต่างๆเป็นภาพเบลอๆ มีเงาซ้อนบ้าง เห็นแสงไฟฟุ้งบ้าง  แต่ในคนที่มีปัญหาสายตาเอียงน้อยๆ อาการมักจะค่อยๆสะสม และส่งผลให้เห็นในช่วงที่ใช้สายตาเป็นเวลานาน หรืออาจเกิดปัญหาปวดหัว  ตาล้า ในช่วงเย็นๆของวัน  อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายตาเอียงได้ที่ https://voradaoptometry.com/casestudy/detail/23

 

วิธีการตรวจสายตาเอียง มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี  คือ การใช้ Clock Dial chart , Stenopaic slit และ Jackson Cross Cylinder  สายตาเอียงเป็นปัญหาสายตาที่ประกอบไปด้วย Power หรือค่ากำลังของค่าสายตาเอียง และ Axis หรือองศาของค่าสายตาเอียง ที่เกิดจากความโค้งของกระจกตาหรือเลนส์แก้วตามีความโค้งที่ไม่เท่ากันในทุกๆแกน เราจึงต้องหาว่า ตำแหน่งที่มีความโค้งที่ทำให้เกิดปัญหานั้นอยู่ที่แนวแกนไหน จึงทำให้มีรายละเอียดที่มากกว่า สายตาสั้นและสายตายาว ที่มีเพียงค่า Power หรือค่ากำลังสายตาเท่านั้น

 

ในวันนี้เราจะมาลงลึกถึงรายละเอียดการตรวจหาค่าสายตาเอียงด้วยวิธี  Jackson Crossed Cylinder 

JCC หรือ Jackson Cossed Cylinder เป็นการตรวจหาค่าสายตาเอียงแบบ Sujective ที่นิยมใช้กันมาก สามารถหาได้ทั้งค่า Power และ Axis ของค่าสายตาเอียง มีสเกลในการหา Axis ได้ละเอียด ขนาด 5 องศา ซึ่งมีความละเอียดมากกว่าวิธีการตรวจอื่นๆ  การทำ JCC สามารถทำได้ทั้งบน Phoropter โดยการใช้ Function JCC และ บน Trial lens โดยใช้ไม้ JCC หรือ เรียกว่า Flip Cylinder ซึ่งมีให้เลือกใช้หลาย Power ตั้งแต่ 0.25 , 0.37 , 0.50 Diopter มาวางไว้ที่ด้านหน้าดวงตา  ให้คนไข้มอง Target ที่ระยะ 6 เมตร และ Flip อย่างรวดเร็วให้คนไข้เปรียบเทียบดูความแตกต่าง ระหว่างภาพที่ใส่ Minus Cylinder และภาพที่ใส่ Plus Cylinder
( ตำแหน่งสีแดง จะเป็น Minus Cylinder และตำแหน่งสีขาวหรือสีเขียว จะเป็น Plus cylinder )

 

     

 

JCC เป็นอุปกรณ์ที่คล้ายกับการนำเลนส์สายตาเอียงมาประกบกัน  ด้านหนึ่งจะเป็น Minus Cylinder หรือเลนส์เอียง - ซึ่งมีผลในการผลักแสงให้ไกลออกไป อีกด้านหนึ่งจะเป็น Plus Cylinder หรือเลนส์เอียง + มีผลในการดึงแสงให้ใกล้เข้ามามากขึ้น  โดยทั้งสองแกนจะอยู่ห่างกัน หรือตั้งฉากกัน 90 องศา 

 

ตัวอย่างเช่น JCC power +- 0.25
Power Meridian หนึ่งจะมีกำลัง - 0.25  Diopter
Power อีก Meridian หนึ่งจะมีกำลัง +0.25 Diopter  

 

เพิ่มเติม : Power meridian = องศาที่ใช้ในการประกอบเลนส์ หรือ การเขียน Power cross
               Axis  meridian = องศาที่ใช้ดูใน Lensometer เป็นองศาของ Focal line

 

วัตถุประสงค์ของการทำ Jackson Cross Cylinder คือ การทำให้ circle of least confusion  ตกบริเวณจอตา และ Focal line ทั้ง Vertical และ Horizontal meridian อยู่ห่างจากจอตาในระยะที่เท่าๆกันทุกเส้น
( ตำแหน่ง circle of least confusion ไม่ใช่กึ่งกลางระหว่าง Vertical และ Horizontal meridain แต่เป็นตำแหน่งที่ ภาพโฟกัสในระหว่างสอง meridian นี้มีความคมชัดพอๆกัน )


การตรวจ JCC จะทำการตรวจหลังการหา Best Sphere เรียบร้อยแล้ว หรือทำหลังจากการตรวจ Red / Green test ที่ใช้หลักการจากการดูความยาวของคลื่นของแสง และแก้ไขด้วย Sphere Lens  ( Minus / Plus Lens ) ให้แสงมาโฟกัสที่บริเวณ Retina พอดี

 


แต่กรณีในคนที่มีปัญหาสายตาเอียง ในตำแหน่งของ Best Sphere จะเป็นตำแหน่งที่ Circle of least confusion ตกที่บริเวณจอตาพอดี  แต่ Focal line ในแนว vertical และ horizontal meridian จะยังอยู่ห่างจากจอตาในระยะที่อาจจะยังไม่เท่ากัน   ( เรียกอีกอย่างก็คือ  SE. หรือ Spherical Equivalent ใช้เลนส์ Sphere ในการทดและแก้ไขสายตาเอียง เป็นการแก้ไขที่ทำให้รูัสึกเห็นภาพดีขึ้น แต่ความคมชัดจะน้อยลง สูตรของมันก็คือ Sphere + Cylinder หารด้วย2 )

มาต่อในเรื่องการตกของ Focal line จะมีแกนหนึ่งที่ตกใกล้กับจอตามากกว่า แกนนั้นจะเป็นแกนที่เป็นค่า Sphere ( best sphere = แกน sphere อยู่ใกล้ retina มากสุด แกนที่อยู่ใกล้ retina มากกว่าจะเห็นภาพชัดกว่าแกนที่อยู่ไกลจาก Retina )  

แกนที่เป็นแกน Sphere จะตกด้านหลังและจะอยู่ใกล้กับ Retina มากกว่า ( แกนที่มีความเป็น + มากกว่า เหมือนกับที่เราท่องๆ กันว่า แกน Sphere = แกนที่บวกมากกว่า ) ส่วนแกนที่อยู่ด้านหน้า และอยู่ไกลจาก Retina มากกว่าจะเป็นแกนของ Cylinder 


การทำ Jackson Cross Cylinder จะเป็นการ ใส่ Minus Cylinder Lens หรือ เลนส์เอียงลบ เพื่อดันให้แกน Cylinder ถอยหลังไปให้อยู่ใกล้ๆกับ Retina ในระยะที่พอๆกับแกนของ Sphere  โดยที่ Circle of least confusion ยังคงต้องตกตรงบริเวณ Retina

 

ในขณะที่เราใส่ Minus Cylinder 1 ครั้ง แกนของ Cylinder จะขยับถอยหลัง 1 step แกนของ Sphere ยังคงอยู่ที่เดิม ทำให้ ตำแหน่งของ Circle of least confusion ขยับถอยหลังไปด้วย  ( แสดงว่า ตำแหน่งของ Circle of least confusion หลุดออกจาก Retina ไปแล้ว เพราะตอนแรกที่ทำ Best Sphere จะโฟกัสที่ Retina พอดี )
เมื่อเราใส่ Minus Cylinder อีก 1 ครั้ง แกนของ Cylinder ก็จะขยับถอยหลังอีก 1 step แกนของ Sphere ยังอยู่ที่เดิม ตำแหน่งของ Circle of least confusion ก็จะขยับถอยหลังไปมากขึ้นอีก

เราจึงต้องใช้ Sphere lens หรือ เลนส์ + เพื่อดึงตำแหน่งของ Circle of least confusion ให้กลับมา ( Sphere lens มี Power เท่ากันทุกแกน จึงสามารถดึง Focal line ในทุกๆแกนขยับมาพร้อมๆกันได้ ) 

มันจึงเป็นที่มา ของประโยคที่ว่า   2 แลก  1  มันก็คือ เมื่อใส่ Cylinder 2 step ( 0.50 Diopter ) ต้องทดด้วยการใส่ Sphere 1 Step ( 0.25 Diopter ) เพื่อปรับให้ตำแหน่งของ Circle of least confusion มาโฟกัสที่บริเวณ Retina พอดี

เราจะใส่ Minus Cylinder lens ไปเรื่อยๆ พร้อมกับการทดด้วย Plus lens จนกว่าคนไข้จะเห็นภาพทั้งสองภาพที่เรา Flip มีความคมชัดพอๆกัน  แสดงว่า Focal line ทั้งสองแกนอยู่ใกล้กับ Retina พอๆกันแล้ว  ภาพด้านล่างจะเป็นภาพที่ Correct Refractive Error เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว แล้วใส่ฟังก์ชัน Cross Cylinder เข้าไป ตำแหน่งนี้คนไข้จะเห็นภาพทั้งสองภาพที่เราให้เปรียบเทียบชัดพอๆกัน

 

 

ทั้งหมดที่พูดมาก็คือหลักการและวัตถุประสงค์ในการหาค่ากำลังของสายตาเอียง ด้วยวิธี Jackson cross cylider เป็นวิธีที่ละเอียด ต้องใช้เวลาและความเข้าใจในการตรวจ 

 

Jackson cross cylinder ยังสามารถหาแนวแกน หรือ องศาของค่าสายตาเอียงได้โดยการวางตำแหน่ง  ของ Power Minus และ Plus cylinder ให้คร่อม กับ องศาที่เราจะหา หรือใช้ตำแหน่งของก้าน ไม้ JCC เป็นระนาบที่ตรงกับองศาที่เราจะหาก็ได้  หลังจากนั้นก็ Flip ให้คนไข้เปรียบเทียบความคมชัดของภาพเหมือนเดิม และจะหมุนทิศทางของแนวองศาไปตามฝั่งทางด้านสีแดงเสมอ  ทำจนกว่าคนไข้จะเห็นภาพที่เปรียบเทียบกัน 2 ภาพ ชัดพอๆกัน 

 


สำหรับร้านของขิง  จะตรวจด้วยวิธี Jackson cross cylinder ทั้งใน Phoropter และจะมา Confirm hand-held JCC บน Trial frame อีกรอบ เนื่องจากเวลาเราหาองศาใน Phoropter ตำแหน่งของ Phoropter จะอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งฉากกับแสงที่เข้ามา  แต่เมื่อมา confirm บน trial frame จะมีปัจจัยอื่นๆ เช่นมุมเทของหน้าแว่น  มาเกี่ยวข้องด้วยทำให้ค่าองศาที่วัดได้มีการเปลี่ยนแปลงไป


หวังว่าบทความนี้ คงจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจทั้งคนนอกวิชาชีพ ในวิชาชีพ และเพื่อนร่วมวิชาชีพอยู่บ้างไม่มากก็น้อย 
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบ และจะพยายามนำความรู้ดีๆมาแบ่งปันให้กับทุกๆท่านได้อ่านกันต่อไป

 


Content by : Worada Saraburin , O.D.
Ref : Textbook Optics , and retinoscopy , and Refractometry
         Textbook Visual Science and Clinical Optometry

 

ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์

นัดหมายเพื่อเข้ารับบริการ 065-9499550

ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ 

ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข  89/45 ม.3​ ต.บางกรูด​ อ.บ้านโพธิ์​ จ.ฉะเชิงเทรา​  

https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic

อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์

สามารถจอดรถบริเวณหน้าร้านได้เลยค่ะ