รังสีที่มีผลกับดวงตาและการมองเห็น   LIGHT AND ELECTROMAGNETIC SPECTRUM

 

 

แสง  เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่ดวงตามนุษย์สามารถรับรู้ได้  เป็นคลื่นตามแนวขวาง ที่เกิดจากสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าเคลื่อนที่ทำมุมตั้งฉากกัน  ระยะทางระหว่างยอดคลื่นหนึ่งไปถึงยอดคลื่นถัดไปเรียกว่า ความยาวคลื่น ( Wavelength )

 

Electromagnetic spectrum หรือ สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า มีตั้งแต่รังสีแกรมม่าในความยาวคลื่นที่สั้นที่สุด ไปจนถึง รังสีคลื่นวิทยุ ที่มีความยาวคลื่นที่ยาวที่สุด 

โดยที่รังสีทีมีผลกับดวงตาและการมองเห็นของเราคือ รังสีอัลตราไวโอเล็ต ( Ultraviolet rays ) , แสงที่ตามองเห็นได้ ( Visible rays ) , และ รังสีอินฟราเรด ( Infrared rays )

 

 

ซึ่งความยาวคลื่นแสงที่ตาคนเราสามารถมองเห็นได้ หรือ Visible rays มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 400 - 700 นาโนเมตร 

โดยพลังงานของ Spectum แม่เหล็กไฟฟ้า จะ แปรผกผันกันกับความยาวคลื่นของแสง ดังสูตร

 

E = hf       

โดยที่ E = พลังงานของโฟตอน   h = ค่าคงที่ของแพลงก์ มีค่า 6.63 *10-34 จูล วินาที   f = ความถี่ของคลื่นในระยะเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิรทซ์ ( Hz )

 

v = fl

โดยที่ v0 = v สูญญากาศ = 3*108  เมตรต่อวินาที   f = ความถี่ของคลื่น   l = ความยาวคลื่น มีหน่วยเป็นเมตร

 

ความยาวคลื่นสั้น  =  ความถี่มาก  =  พลังงานมาก

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  ความยาวคลื่นสั้นมากเท่าไหร่ พลังงานจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

 

วันนี้จะพูดเกี่ยวกับรังสีที่มีผลต่อดวงตาและการมองเห็น ทั้งสามคือ รังสีอัลตราไวโอเล็ต ( Ultraviolet rays ) , แสงที่ตามองเห็นได้ ( Visible rays ) , และ รังสีอินฟราเรด ( Infrared rays )

 

ULTRAVIOLET  RAYS  ( UV  RAYS )  รังสีอัลตราไวโอเล็ต


UV RAYS หรือ รังสีอัลตราไวโอเล็ต เป็นความยาวคลื่นที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นได้ และ แสงอาทิตย์คือแหล่งกำเนิดแสง UV ที่สำคัญที่สุด

แสง UV ยังคงแบ่งย่อยตามการ Absorption หรือการดูดกลืนแสงอออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

 

  • 1. UV-C  ความยาวคลื่นแสงประมาณ 200 - 280 นาโนเมตร  แถบรังสีนี้จะถูก block หรือ ถูกปิดกลั้น จาก Ozone layer ( O3 )


Ozone layer คือ ชั้นของ Ozone ซึ่งอยู่ในบรรยากาศชั้น สตราโตสเฟียร์ ( Stratosphere ) Ozone เป็นองค์ประกอบสำคัญของชั้นบรรยากาศโลก เพราะเป็นก๊าซที่ช่วยดูดกลืนรังสี UV จากแสงอาทิตย์ให้มีปริมาณที่พอเหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก 
ซึ่งปริมาณก๊าซ Ozone จะเปลี่ยนแปลงตามความสูงจากผิวโลก ดังนั้น ปริมาณการดูดกลืน รังสี UV-C ตามชั้นบรรยากาศจึงแตกต่างกันไป

 

  • 2. UV-B  ความยาวคลื่นแสงประมาณ  280 - 315 นาโนเมตร  แถบรังสีนี้จะถูก block จากกระจกตาชั้นนอกสุด หรือ corneal epithelium    UV-B มีผลทำให้เกิด Snow blindness และ Corneal burn ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโลหะ โดยวิธีการเชื่อมอาร์ก ( arc welding )  กระจกตามีความไวต่อรังสี UV-B ซึ่งถ้าได้รับเป็นเวลานนาน จะทำให้เกิด ต้อลม ( Pinguecular ) และต้อเนื้อ ( Pterygium )


Snow blindness เป็นตาอักเสบจากแสงรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจาก รังสี UV ที่สะท้อนจากน้ำแข็งและหิมะ พบได้บ่อยในพื้นที่ขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ และบนภูเขาสูง หรืออาจจะหมายถึงการ Freezing คือการที่กระจกตาถูกแช่แข็ง ทำให้กระจกตาแห้งอย่างรุนแรง เนื่องจากอากาศแห้งมาก เช่น ในการทำกิจกรรมการเล่นสกี และปีนเขา 

 

  • 3. UV-A  ความยาวคลื่นแสงประมาณ 315 - 400 นาโนเมตร  เซลล์รับแสงของจอตา มีความไวต่อรังสีในความยาวคลื่น ระหว่าง 350 - 400 นาโนเมตร  UV-A ในความยาวคลื่น 315 - 380 นาโนเมตร จะถูกดูดกลืนโดยเลนส์แก้วตา ( Crystalline lens )

ดังนั้น จอตาจึงได้รับการป้องกันจากรังสี UV และการได้รับรังสี UV ในปริมาณน้อยๆแต่ได้รับเป็นเวลานาน จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดต้อกระจก ( Cataract )  ซึ่งในคนที่ไม่มีเลนส์แก้วตา ( Aphakia ) และในคนที่ใช้เลนส์แก้วตาเทียม ( Pseudoaphakia eyes ) จะได้รับกับแสงสีน้ำเงินและแสงสีม่วงเพราะไม่มีตัวดูดกลืนแสงรังสี UV ดังนั้น ในเลนส์แก้วตาเทียม ( IOL : Intraocular Lens ) จึงมีการชุบสารยับยั้งรังสี UV-A ที่เรียกว่า Chromophores เพื่อปกป้องจอตา

 

 

 

VISIBLE  RAYS  แสงที่ตามองเห็นได้


Visible Rays เป็นคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 400 - 700 นาโนเมตร ประกอบไปด้วยแสงทั้งหมด 7 สี ตามความยาวคลื่น  สีแดงจะอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่ยาวที่สุด และสีม่วงอยู่ในความยาวคลื่นที่สั้นที่สุด

ในสภาวะมีแสงสว่าง หรือ Photopic จอตาจะไวต่อแสงในความยาวคลื่น 555 นาโนเมตร ที่สุด ( แสงสีเหลือง - เขียว )

ในสภาวะแสงสลัว หรือ Scotopic จอตาจะไวต่อแสงสีน้ำเงินที่ความยาวคลื่น 510 นาโนเมตร 

 

 

INFRARED  RAYS   รังสีอินฟราเรด

 

เป็นคลื่นแสงที่ดวงตาเรามองไม่เห็น  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามการดูดกลืนแสง คือ

  • 1. IR-A  มีความยาวคลื่นอยู่ที่ประมาณ 400 - 1400 นาโนเมตร  หากดวงตาได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิด Eclipse blindness หรือเรียกอีกอย่างว่า Solar Retinopathy  จอตาเสื่อมจากแสงอาทิตย์ เกิดขึ้นหลังจากการจ้องมองดวงอาทิตย์ โดยไม่มีแว่นหรืออุปกรณ์ป้องกัน และสามารถทำให้เกิด ต้อกระจก ( Cataract ) ด้วยเช่นกัน

 

  • 2. IR-B  ความยาวคลื่นอยู่ที่ประมาณ  1400 - 3000 นาโนเมตร   หากดวงตาได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิด Corneal opacity  หรือ กระจกตาขุ่น และ ต้อกระจก ( Cataract )

 

  • 3. IR-C  ความยาวคลื่นอยู่ที่ประมาณ 3000 - 104 นาโนเมตร  หากดวงตาได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิด Corneal opacity  หรือ กระจกตาขุ่น และ ต้อกระจก ( Cataract ) เช่นเดียวกับ IR-B


รังสีอินฟราเรดส่วนใหญ่จะถูกดูดกลืนโดยส่วนของ Anterior chamber หรือ ดวงตาส่วนหน้า กระจกตา ( Cornea ) และในส่วนของตาขาว ( Sclera ) จะดูดกลืนรังสีอินฟราเรดในช่วงความยาวคลื่น 1400 นาโนเมตรขึ้นไป คือกลุ่มของ IR-B และ IR-C 

ดังนั้น Visible rays ในช่วงความยาวคลื่น 400 - 700 นาโนเมตร และรังสีอินฟาเรด ในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 700 - 1400 นาโนเมตร ในกลุ่มของ IR-A จึงถูกส่งไปยังจอตาได้ในบางส่วน  เป็นสาเหตุของการเกิด Solar eclipse เมื่อมองดวงอาทิตย์โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน 

 

 

Ref. : Textbook of Visual Science and Clinical Optometry 

Content by : Worada Saraburin , O.D .

 

 

ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์

นัดหมายเพื่อเข้ารับบริการ 065-9499550

ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ 

ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข  89/45 ม.3​ ต.บางกรูด​ อ.บ้านโพธิ์​ จ.ฉะเชิงเทรา​  

https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic

อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์

สามารถจอดรถบริเวณหน้าร้านได้เลยค่ะ