Convergence Excess ตาเหล่เข้า จากปัญหาการเหลือบตาเข้ามากเกินไป
" ตำแหน่งตาที่เราเห็นว่าตรง มันตรงจริงๆหรือถูกบังคับให้ตรงกันแน่ "
ตาเขตาเหล่ก็มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ
แบบแรกจะเป็นเหล่ชนิดที่ มองตาก็รู้ได้เลยว่า คนนี้ตาเข มองเห็นได้เลยว่าเขเข้าหรือเขออก เค้าจะเรียกว่า Tropia หรือตาเหล่
แบบที่สองจะเป็นเหล่ชนิดที่ มองตาก็เห็นเป็นตาตรง แต่จริงๆแล้วมีความเหล่ซ่อนอยู่ แบบนี้เค้าจะเรียกว่า Phoria หรือตาเหล่ซ่อนเร้น
แต่วันนี้เราจะมาเน้นในเรื่องของ Phoria หรือตาเหล่ซ่อนเร้น ซึ่งจะพูดถึงตาเหล่ซ่อนเร้นแบบเข้าด้านใน ที่เกิดจากการเหลือบตาเข้ามากเกินไป หรือ Convergence Excess
Convergence Excess มันคือปัญหาตาเหล่เข้าด้านใน ซึ่งถ้ามองด้วยตาเปล่าๆก็จะเห็นว่าตามันยังตรงอยู่ แต่ที่มันอยู่ตำแหน่งตรงนี้เป็นการอยู่แบบถูกบังคับให้ตรง
คนที่เป็น Convergence Excess จริงๆแล้วตำแหน่งพักหรือตำแหน่งที่สบายของตาจะอยู่เข้ามาทางด้านในจมูก เพราะมันเกิดจากการที่มีแรงดึงในการเหลือบตาเข้าของตามากเกินไป ปริมาณมุมเหล่นี้เราจะเรียกว่า Phoria หรือ Demand
แต่ด้วยแรงดึงของตาในการเหลือบออก หรือ Reserve ยังมีกำลังเพียงพอที่จะยังดึงตาให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งตาตรงได้อยู่ ซึ่งแรงดึงในการเหลือบตาออก หรือ Reserve จะต้องเป็น 2 เท่าของ Demand หรือปริมาณมุมเหล่ของคนไข้ถึงจะเรียกว่าเพียงพอ
หาก Reserve เพียงพอคนไข้ก็จะมองเห็นภาพได้ปกติไม่ได้มีปัญหาหรืออาการอะไร
แต่ถ้าแรงดึงในการเหลือบออกของตามีกำลังไม่เพียงพอ ก็จะมีอาการต่างๆแสดงออกมาให้เห็นและรู้สึกได้ ดังนี้
- • อาการแสดงของคนไข้ที่มีปัญหา Convergence Excess
1. ปวดตา ปวดหัว เวลาใช้สายตาในการมองที่ระยะใกล้นานๆ หรือใช้สายตาในการมองใกล้ได้แป๊บเดียว
2. เห็นภาพเบลอ
3. เห็นภาพซ้อน
4. ตาล้า ง่วงนอนบ่อย
5. โฟกัสอะไรนานๆไม่ค่อยได้ จดจ่อกับการทำอะไรได้ไม่นาน
- • อาการที่พบได้จากการตรวจ
1. ปริมาณมุมเหล่ Esophoria ที่วัดได้ที่ระยะใกล้มากกว่าที่ระยะไกล
2. คนไข้ที่เป็น Moderate หรือ Hight Hyperopia มีโอกาสที่จะเป็น Convergence Excess ได้ ในคนไข้ที่เป็น Hight Ac/A ratio เมื่อเราใช้เลนส์ + แก้ไข Hyperope จะทำให้ขนาดของ Esophoria ลดลงได้ด้วย
3. Hight Ac/A ratio ตั้งแต่ 7:1 หรือมากกว่า
4. ปริมาณ Negative Fusional Vergence ( NFV ) หรือแรงดึงในการเหลือบตาออกน้อยที่ระยะใกล้ ดูได้จากการทำ Reserve Base In
5. Positive Relative Accommodation ( PRA ) ต่ำ PRA เป็นการใส่เลนส์ - เพื่อกระตุ้นการทำงานของ Accommodation เมื่อเราใส่เลนส์ - เข้าไป แต่เรายังให้คนไข้ Focus ภาพที่ตำแหน่งเดิมอยู่นั่นคือ 40 cm. ทุกครั้งที่ตามีการ Accommodation ตาจะเกิดการ Convergence คู่กันด้วยเสมอ เมื่อเราใส่เลนส์ - ไปเรื่อยๆ กระตุ้น Accommodation ให้ทำงาน ตา Convergence ไปเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดที่ Accommodative Convergence หมดจะเกิดภาพเบลอ และแยก ร่างกายของเราจึงสร้างแรง Negative Fusional Vergence เข้ามาช่วยโดยอัตโนมัติเพื่อให้สามารถมองเห็นภาพภาพเดียวและยังชัดอยู่ได้ แต่เมื่อ Negative Fusional Vergence หมด ก็จะทำให้เราเห็นเป็นภาพแยกได้ ( การทำ PRA จึงเป็นการดู NFV แบบอ้อมได้ ว่ามีปริมาณมากหรือน้อย )
6. Near Deviation อาจจะเป็น intermittent หรือ Constant Strabismus ต่างกับที่ Distance ตาอาจจะเป็น Orthophoria หรือ Esophoria ก็ได้
- • วิธีการแก้ไข
1. แก้ไขด้วย Lenses
ในทุกๆเคส ที่มีปัญหา Binocular หรือ Accommodation วิธีแรกที่ควรจะทำคือการจ่ายแว่น Correction Refractive Error
ในคนที่มีปัญหา Convergence Excess มีความจำเป็นมากที่จะต้องจ่าย Maximum Plus เพื่อแก้ไขปัญหา
2. Add Lenses
ในคนไข้ที่มี Hight Ac/A ratio Add Plus Lenses at near จะมีผลมากในการแก้ไข Convergence Excess
3. Prism
ในกรณีที่พบ Moderate / Hight Esophoria @ Distance การจ่าย Base Out เป็นวิธีที่ควรพิจารณาจ่าย เพื่อช่วยเลื่อนภาพให้เข้ามาด้านในมากขึ้น
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆทัศนมาตร และทุกๆคนที่มีความสนใจในเรื่องนี้ให้ได้เข้าใจมากขึ้นไม่มากก็น้อยนะคะ
Content by : Worada Saraburin , O.D.
ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์
นัดหมายเพื่อเข้ารับบริการ 065-9499550
ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ
ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข 89/45 ม.3 ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic
อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์
สามารถจอดรถบริเวณหน้าร้านได้เลยค่ะ