Computer Vision Syndrome
เป็นกลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตาในการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มักเกิดในคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนาน 2 ชั่วโมงหรือมากกว่า
เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลกันระหว่าง ความต้องการที่จะใช้ดวงตาในการมองเห็น มากกว่า ความสามารถของดวงตาที่ใช้ในการมองเห็น
- • Visual Symptoms ( อาการทางตา )
1. Eye strain ( ล้าบริเวณดวงตา )
2. Headaches ( ปวดศีรษะ )
3. Blurred vision ( มองเห็นภาพเบลอ )
4. Diplopia ( มองเห็นภาพซ้อน )
5. Sleepiness ( รู้สึกง่วงนอนบ่อยๆ )
6. Difficulty concentrating ( โฟกัสอะไรนานๆไม่ค่อยได้ )
7. Loss of comprehension over time ( ทำความเข้าใจช้าขึ้น )
8. Movement of the text on the screen ( ข้อความบนหน้าจอเคลื่อนไหว )
9. Dry eye ( ตาแห้ง )
- • Physical Symptoms ( อาการทางกาย )
มีปัญหาบริเวณ คอ หลัง และข้อมือ
.
- • Computer vision syndrome จะมาจาก 2 สาเหตุ คือ
1. การทำงานของกล้ามเนื้อตาผิดปกติ
2. การทำงานของระบบการการเพ่งของเลนส์ตาผิดปกติ
- • Management การแก้ไข
1. Correction of ametropia ( การแก้ไขค่าสายตาให้ถูกต้อง )
การแก้ไขค่าสายตาให้ถูกต้องเป็นวิธีแรก ที่ควรให้ความสำคัญในคนที่มีปัญหา Computer vision syndrome
ปัญหา Asthenopia หรือ อาการปวดตา แสบตา ตาล้า มักเกิดจากสาเหตุ Refractive error หรือการหักเหของแสงที่ผ่านเข้าดวงตาผิดปกติ เช่น ปัญหาสายตายาว หรือสายตาเอียง
• ในคนที่มีปัญหา Hyperopia ( สายตายาว ) ควรได้รับการแก้ไขโดยใส่เลนส์บวก หรือเลนส์นูน หากไม่ได้รับการแก้ไข เลนส์ตาของเราจำเป็นที่จะต้องเพ่งมากกว่าคนปกติในขณะที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดปัญหา ปวดตาและล้าตาตามมาได้
• ในคนที่มีปัญหาสายตายาวตามวัย หรือ Presbyopia ควรได้รับการแก้ไขโดยใส่เป็นเลนส์ Addition หรือเลนส์ที่มีค่าเป็นบวก หรือเลนส์นูน เพื่อช่วยให้เลนส์ตามีการเพ่งน้อยลง
• ในคนที่มีปัญหา Astigmatism ( สายตาเอียง ) , Anisometropia ( ค่าสายตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ) ควรได้รับการแก้ไขเพื่อลดการเพ่งของเลนส์ตา และลดปัญหา Asthenopia
2. Added lens ( การใช้เลนส์บวก หรือเลนส์นูน )
• ในคนที่มีปัญหา Presbyopia ( สายตายาวตามอายุ ) ควรใช้ Added lens เพื่อช่วยให้การมองเห็นในระยะใกล้คมชัดมากขึ้น
• ในคนที่มีปัญหาตาเหล่เข้าซ่อนเร้น หรือ Esophoria เป็นภาวะที่ตำแหน่งสบายของดวงตาไม่ได้อยู่ ในตำแหน่งตาตรง แต่อยู่ในตำแหน่งเหล่เข้า หรือเข้าใกล้จมูก กล้ามเนื้อตามัด Lateral rectus ที่อยู่ด้านหู จึงต้องดึงลูกตาออกตลอดเวลา เพือรวมภาพจากตาทั้งสองข้างให้เป็นภาพเดียว กล้ามเนื้อมัดนี้จึงต้องทำงานหนักมากกว่าปกติ การใส่ Added lens จะช่วยให้ภาวะ ตาเหล่เข้าซ่อนเร้น ดีขึ้นได้ ( โดยต้องอยู่ในกรณีที่คนไข้มี Hight AC/A Ratio คือ ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเพ่งของเลนส์ตา และ ความสามารถในการเหลือบตาเข้าของกล้ามเนื้อตา ต้องมีความสัมพันธ์กันในปริมาณที่มากกว่าคนปกติ )
• ในคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการ Accommodation หรือการเพ่งของเลนส์ตา เช่น Accommodative Insufficiency ( ความสามารถในการเพ่งของเลนส์ตาน้อยเกินไป ) , ill - sustained Accommodation ( ตาล้าจากการเพ่งของเลนส์ตา ทำให้เพ่งดูใกล้ต่อเนื่องได้ไม่นาน )
3. Prism ( ปริซึม )
สำคัญมากสำหรับคนที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา ควรได้รับการพิจารณาในการใส่ Prism เพื่อช่วยให้มีการมองเห็นที่ดีขึ้นและลดอาการผิดปกติที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อตา
4. Vision Therapy
การบริหารกล้ามเนื้อตา เพื่อแก้ไขความผิดปกติที่เกิดจาก กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของลูกตา และการเพ่งของเลนส์ตา ซึ่งจะทำงานร่วมกันเรียกว่า Binocular Vision หรือ การทำงานร่วมกันของตาทั้ง 2 ข้าง
5. Ocular Health
ในคนปกติเราจะกระพริบตาประมาณ 18 ครั้งต่อนาที แต่เมือเราใช้ดวงตาในการเพ่งมองอะไรสักอย่างเป็นเวลานานๆ อัตราการกระพริบตาจะลดลงเหลือประมาณ 4 ครั้งต่อนาที ส่งผลให้มีอาการไม่สบายตา เนื่องจากน้ำตาที่มาเคลือบบริเวณผิวดวงตาไม่เพียงพอ รวมถึงการการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศแห้งจนเกินไป ส่งผลให้เกิดปัญหาตาแห้งได้ แนวทางการแก้ไขมีดังนี้
• เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตา โดยลดระยะเวลาในการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือหากมีความ จำเป็นต้องทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้พักสายตาบ่อยๆ เปลี่ยนอริยาบทเพื่อให้ดวงตาและกล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย
• หยอดน้ำตาเทียม น้ำตาเทียมมีทั้งที่ผสมสารกันบูด และไม่ผสมสารกันบูด ซึ่งส่วนมากจะแนะนำให้ใช้แบบที่ไม่ผสมสารกันบูด เพื่อป้องกันการแพ้สารประกอบที่อยู่ในสารกันบูด ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะตาแห้งด้วย
• ภาวะตาแห้งที่ไม่ได้เกิดจากการระเหยของชั้นน้ำตา เช่น ท่อน้ำตาอุดตัน ควรเข้ารับการตรวจและรักษากับจักษุแพทย์
6. Ergonomic Issues
• ความสว่างและแสงสะท้อน
ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ควรจัดตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงตำแหน่งที่ทำให้เกิดแสงสะท้อนจากหน้าจอ โดยเฉพาะแสงที่อยู่ด้านบนศีรษะ และแสงจากหน้าต่าง สามารถใช้มู่ลี่หรือผ้าม่านเพื่อปรับแสง ให้แสงผ่านเข้ามาได้เพียงบางส่วน หรือใช้แผ่นกรองแสงติดหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดการเกิดแสงสะท้อน
• ตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์
ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา 15 - 20 องศา ระยะห่างของหน้าจออยู่ที่ประมาณ 20 - 28 นิ้ว ควรจัดตำแหน่งของเอกสารให้ง่ายต่อการใช้งาน ให้เคลือนไหวดวงตาและศีรษะน้อยที่สุดซึ่งช่วยลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาและคอ
• การจัดเก้าอี้
ควรใช้เก้าอี้ที่ปรับขึ้น - ลงได้ ควรปรับความสูงของเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางราบกับพื้น หากเก้าอี้มีแขนควรปรับให้รองรับแขนขณะพิมพ์และวางคีย์บอร์ดให้อยู่ระดับเดียวกับข้อศอกและข้อมือ เพื่อลดการเหยียดมือและข้อมือบ่อยๆ
• ตัวอักษร
ปรับสีของตัวอักษรและพื้นหลังให้มองเห็นได้คมชัด
• พักสายตา
ควรเปลี่ยนอริยาบทหรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เพื่อพักสายตา และป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
แล้วพบกันในบทความต่อไปนะคะ : )
Content by : Worada Saraburin , O.D.
ให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.30 - 18.00น. *หยุดทุกวันจันทร์
นัดหมายเพื่อเข้ารับบริการ 065-9499550
ใช้เวลาในการตรวจ 1 - 2 ชั่วโมง
สำหรับคนที่สนใจทำแว่นทางร้านเราใช้เวลาในการส่งฝนและประกอบเลนส์เข้ากรอบประมาณ 10 - 14 วันนะคะ
ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข 89/45 ม.3 ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic
อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์
สามารถจอดรถบริเวณหน้าร้านได้เลยค่ะ