ASSOCIATED PHORIA หนึ่งในวิธีการหาปริมาณตาเขตาเหล่ซ่อนเร้น 

 

 

Phoria หรือ ตาเขตาเหล่ซ่อนเร้น เป็นปัญหาที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินหรือไม่เคยรู้จักมาก่อน   
และคงสงสัยเมื่อได้ยินว่าตัวเองมีปัญหานี้  สงสัยว่าเวลาส่องกระจก ก็ไม่เคยเห็นตาตัวเองจะเหล่สักครั้ง จะมาบอกว่าฉันตาเขตาเหล่ได้ยังไง  

 

จริงๆแล้ว Phoria หรือ ตาเขตาเหล่ซ่อนเร้น เวลาเรามองตาของคนที่มีปัญหานี้ ก็จะยังคงเห็นตาของคนคนนั้น ‘ ตรง ’ อยู่เหมือนเดิม ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ตำแหน่งตาของคนไข้ไม่ตรง   ต่างกับ Tropia หรือ ตาเข ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าคนคนนั้นมีตำแหน่งตาที่ไม่ตรง อาจจะเหล่เข้าจมูกหรือเหล่ออกไปทางหูก็ว่ากันไป 
ซึ่งปริมาณมุมการเหล่ของ Tropia จะมากกว่า Phoria ทำให้ Phoria มักเป็นปัญหาที่ถูกเก็บซ่อนไว้ได้อย่างมิดชิด นอกเสียจากมีอาการที่แสดงออกมาให้เห็น เช่น มองเห็นภาพซ้อนอาจจะตลอดเวลาหรือบางเวลา มีปัญหาตาล้า ปวดหัวต่างๆ บางคนก็อาจจะคิดว่าทนๆไป ไม่น่าเป็นอะไรหรอก คงจะพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับตื่นมาเดี๋ยวก็หาย แต่จริงๆมันไม่หาย 

 

การหาปริมาณ Phoria หรือ ปริมาณตาเขตาเหล่ซ่อนเร้นนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี  ตั้งแต่ Cover test , maddox rod , vongrafe technique, associate phoria แต่ละ Test ก็มีวิธีการตรวจที่ต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปัญหา และวัตถุประสงค์ของผู้ตรวจด้วย ว่าจะตรวจไปเพื่ออะไร

 

 

ในวันนี้ จะมาพูดถึง วิธีการตรวจที่เรียกว่า ASSOCIATED PHORIA เป็น Test ที่ขิงใช้อยู่เป็นประจำ เวลาตรวจคนไข้

 

หลังจากที่ทำการประเมินปัญหาจากการตรวจ Cover test ดูทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงตา  ตรวจหา Demand / Supply หรือ ปริมาณ Phoria และ Vergence จากการตรวจ Vongrafe technique เรียบร้อยแล้ว เมื่อพบว่ามีปัญหาที่ไม่ปกติ หรือต้องมีการแก้ไขด้วยปริซึม  ขิงมักจะใช้  ASSOCIATED PHORIA นี้เพื่อรีเช็คอีกครั้ง 

 

ASSOCIATED PHORIA เป็นวิธีการ neutralize  misalignment ของ Visual Axis ภายใต้การมองเห็นในระบบ Binocular หรือ เป็นการหาว่า ตำแหน่งดวงตาที่มันหนีศูนย์ไป มันหนีไปเท่าไหร่ ภายใต้การทำงานของระบบการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้าง จะตรวจหลังจากมีการแก้ไข Refractive error เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง ปริมาณปริซึมที่ใช้ neutralize จะเป็นปริมาณที่สามารถนำไปใช้ในการพิจารณาจ่ายแว่นได้

 


ในการตรวจ จะใช้ polarizing filters บน Phoropter หรือถ้าตรวจใน Freespace ก็สามารถใช้เป็นแว่นโพลารอยด์คู่กับ Prism bar ได้

 

 

 

จะเปิด Target ให้คนไข้มอง โดย Target ที่ใช้ก็มีอยู่หลายแบบ ดังรูปที่แนบมาด้านบน

 

คนปกติเมื่อมองด้วยตา 2 ข้าง จะเห็นเป็นภาพ A โดยตาข้างซ้ายจะเห็นเป็นภาพ B ตาข้างขวาจะเห็นเป็นภาพ C

 

ถ้าคนไข้มีปัญหา เกี่ยวกับ vertical fixation disparity หรือมีปัญหา ตาเขตาเหล่ในแนวดิ่ง ( Hyperphoria / Hypophoria )   คนไข้จะเห็นเส้นในแนวตั้งทั้งเส้นบนและเส้นล่างอยู่ตรงกัน แต่จะเห็นเส้นในแนวนอน  ฝั่งซ้ายและขวาไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน จะมีเส้นใดเส้นหนึ่งอยู่สูงกว่าหรือต่ำกว่า  ดังเช่นในรูปที่แนบมานี้

 


ในภาพ A เส้นนอนทางขวา อยู่สูงกว่า เส้นนอนฝั่งซ้าย นั่นแปลว่า ตำแหน่งตาด้านซ้ายอยู่ด้านบน  ตาขวาอยู่ด้านล่าง เราจะเรียกกรณีนี้ว่า  Left Hyperphoria 
เราจะ neutralize ด้วย Vertical Prism โดยจะใส่ปริซึม Base Up ที่ตาขวา หรือใส่ปริซึม Base Down ในตาข้างซ้าย เพื่อเลื่อนภาพของเส้นแนวนอนให้กลับมาอยู่ตรงกัน

 

#Note 

มนุษย์เรามีตา 2 ข้าง ซึ่งตาแต่ละข้างจะมองเห็นภาพที่ไม่เหมือนกัน แต่จะมีบางส่วนที่มองเห็นภาพออกมาได้เหมือนกัน เมื่อตาทั้ง 2 ข้าง fixate หรือมองไปที่จุดใดจุดหนึ่งที่อยู่ตรงหน้า visual field หรือลานสายตาของตาทั้งสองข้าง จะมีส่วนที่ Overlab มองเห็นภาพที่เหมือนกันอยู่ ยกเว้นทางด้าน  Temperal หรือทางด้านหูของตาแต่ข้าง                               

วัตถุที่อยู่ใน Visual field หรือลานสายตาข้างขวา จะมีภาพตกทางด้านซ้ายของจอตา  เช่นเดียวกัน ถ้าวัตถุอยู่ทางด้านซ้ายของลานสายตาจะมีภาพตกทางด้านขวาของจอตา  เพราะมีตำแหน่งหนึ่งใน Visual Pathway ที่มีการไขว้กันอยู่ ตำแหน่งนั้นเรียกว่า Optic Chiasm  ทำให้ภาพที่เราเห็นกับภาพที่ตกบริเวณจอตา มีการสลับฝั่งกัน


ในภาพ B ก็เช่นกัน
เส้นแนวนอนฝั่งซ้าย  อยู่สูงกว่า ฝั่งขวา แสดงว่า ตำแหน่งตาซ้ายอยู่ต่ำกว่าตาขวา เราจะเรียกกรณีนี้ว่า Right Hyperphoria

เราจะ neutralize ด้วย Vertical Prism โดยจะใส่ปริซึม Base Up ที่ตาซ้าย หรือใส่ปริซึม Base Down ในตาข้างขวา  เพื่อเลื่อนภาพของเส้นแนวนอนให้กลับมาอยู่ตรงกัน

 


ในกรณีของ horizontal fixation disparity ก็เช่นกัน 

 

 

คนที่มีปัญหาตาเขตาเหล่ซ่อนเร้นในแนว Horizontral ( Exophria / Esophoria ) จะเห็นเส้นในแนวนอนทั้งฝั่งซ้ายและขวาอยู่ในระนาบเดียวกัน  แต่จะเห็นเส้นในแนวตั้ง ด้านบนและด้านล่างอยู่ไม่ตรงกัน  ดังรูป

ในรูป A เส้นบนอยู่ฝั่งซ้ายของเส้นล่าง  แสดงว่าภาพจากตาขวาและตาซ้ายมีการ  Cross กัน ในกรณีนี้จะเรียกว่า Exophoria หรือตาเขตาเหล่ซ่อนเร้นออกด้านนอก ตำแหน่งตาเหล่ออกไปทางด้านหู 

เราจะ neutralize ด้วย Horizontral Prism โดยการใส่ Prism Base IN  

 

ส่วนในรูป  B เส้นบนอยู่ฝั่งขวาของเส้นล่าง  แสดงว่าภาพจากตาขวาและตาซ้าย ไม่มีการ cross กัน ในกรณีนี้จะเรียกว่า Esophoria หรือตาเขตาเหล่เข้าด้านในจมูก ตำแหน่งตาเหล่เข้าไปทางจมูก

เราจะ neutralize ด้วย Horizontral Prism โดยการใส่ Prism Base OUT

 


วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย หากสื่อสารให้คนไข้เข้าใจ และเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้คอนเฟิร์มความผิดปกติ และการจ่ายปริซึมเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับคนไข้ได้ 

สำหรับวันนี้ ขิงขอลาไปก่อน  ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาจนจบ ขิงหวังว่าบทความนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกท่านที่สนใจ ช่วยให้น้องๆในวิชาชีพ เพื่อนร่วมวิชาชีพได้มีความเข้าใจในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น 

หากมีเรื่องที่น่าสนใจขิงจะมาแชร์ให้ทุกท่านได้อ่านกันต่อไป 

 

 

Content by : Worada  Saraburin , O.D. 

Ref : textbook Clinical Procedures for Ocular Examination 

 

นัดหมายเข้ารับบริการ  065-949-9550

ร้านตั้งอยู่ที่
อาคารหมายเลข  89/45 ม.3​ ต.บางกรูด​ อ.บ้านโพธิ์​ จ.ฉะเชิงเทรา​  

https://maps.app.goo.gl/VUB5EgTVntLPyGKZ9?g_st=ic

อยู่ติดกับถนนเส้น บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
ฝั่งตรงข้าม เมกาโฮม ฉะเชิงเทรา
ใกล้กับร้าน ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา อึ๊งมุ่ยเส็ง สาขาบ้านโพธิ์